กฎกระทรวง
การจัดให้มีเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงาน
บุคลากร หน่วยงาน หรือคณะบุคคลเพื่อดำเนินการด้านความปลอดภัย
ในสถานประกอบกิจการ
พ.ศ. ๒๕๖๕
---------------------------------------------------
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๕ วรรคหนึ่ง และมาตรา ๑๓ แห่งพระราชบัญญัติ ความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน พ.ศ. ๒๕๕ ๔ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน ออกกฎกระทรวงไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ กฎกระทรวงนี้ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนดหกสิบวันนับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษา เป็นต้นไป
ข้อ ๒ ให้ยกเลิกกฎกระทรวงกำหนดมาตรฐานในการบริหารและการจัดการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน พ.ศ. ๒๕๔๙
ข้อ ๓ ในกฎกระทรวงนี้
"กรรมการความปลอดภัย" หมายความว่า กรรมการความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงานของสถานประกอบกิจการ
"คณะกรรมการความปลอดภัย" หมายความว่า คณะกรรมการความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานของสถานประกอบกิจการ
"ผู้แทนนายจ้างระดับบริหาร" หมายความว่า ลูกจ้างซึ่งเป็นผู้บริหารซึ่งมีหน้าที่และอำนาจทำการแทนนายจ้างในการจ้าง กรเลิกจ้าง การให้บำเหน็จ การลงโทษ หรือการวินิจฉัยข้อร้องทุกข์และได้รับมอบหมายเป็นหนังสือให้เป็นผู้แทนนายจ้างระดับบริหารเพื่อปฏิบัติให้เป็นไปตามกฎกระทรวงนี้
"หน่วยงานความปลอดภัย" หมายความว่า หน่วยงานความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน
หมวด ๑
เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงาน
---------------------------------------------------
ข้อ ๔ นายจ้างของสถานประกอบกิจการประเภทที่ระบุในบัญชีท้ายกฎกระทรวงนี้ ต้องจัดให้มีเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงาน เว้นแต่เป็นสถานประกอบกิจการประเภทที่มีจำนวนลูกจ้างไม่ถึงกณฑ์ที่ต้องจัดให้มีเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานในสถานประกอบกิจการที่นายจ้างต้องจัดให้มี
ตามวรรคหนึ่ง จะเป็นประเภทใดหรือระดับใด ให้เป็นไปตามที่กำหนดไว้ในหมวดนี้
ข้อ ๕ เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานมีสองประเภท ดังต่อไปนี้
(๑) เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานโดยตำแหน่ง
(๒) เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานโดยหน้าที่เฉพาะ
ส่วนที่ ๑
เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานโดยตำแหน่ง
---------------------------------------------------
ข้อ ๖ เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานโดยตำแหน่งมีสองระดับ ดังต่อไปนี้
(๑) เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับหัวหน้างาน
(๒) เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับบริหาร
ข้อ ๗ นายจ้างของสถานประกอบกิจการตามบัญชี ๑ และบัญชี ๒ ที่มีลูกจ้างจำนวนสองคนขึ้นไป และสถานประกอบกิจการตามบัญชี ๓ ที่มีลูกจ้างจำนวนยี่สิบคนขึ้นไป ต้องจัดให้ลูกจ้าง
ระดับหัวหน้างานซึ่งมีคุณสมบัติตามข้อ ๘ ทุกคน เป็นเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับหัวหน้างานของสถานประกอบกิจการ ทั้งนี้ ภายในหนึ่งร้อยยี่สิบวันนับแต่วันที่มีลูกจ้างครบจำนวนดังกล่าว
ในกรณีที่ลูกจ้างระดับหัวหน้างานไม่มีคุณสมบัติตามข้อ ๘ ให้นายจ้างดำเนินการให้ลูกจ้างนั้นเข้ารับการฝึกอบรมตามข้อ ๘ (๑) เพื่อแต่งตั้งให้เป็นเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับหัวหน้างาน ทั้งนี้ภายในหนี่งร้อยยี่สิบวันนับแต่วันที่นายจ้างแต่งตั้งให้เป็นลูกจ้างระดับหัวหน้างาน
ข้อ ๘ เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับหัวหน้างานต้องเป็นลูกจ้างระดับหัวหน้างานและมีคุณสมบัติอย่างหนึ่งอย่างใด ดังต่อไปนี้
(๑) ผ่านการฝึกอบรมหลักสูตรเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับหัวหน้างาน
(๒) เคยเป็นเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับหัวหน้างานตามกฎกระทรวงกำหนดมาตรฐานในการบริหารและการจัดการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน พ.ศ. ๒๕๔๙
(๓) มีคุณสมบัติตามข้อ ๑๕ ข้อ ๑๘ หรือข้อ ๒๑ แล้วแต่กรณี
ข้อ ๙ เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับหัวหน้างานมีหน้าที่ ดังต่อไปนี้
(๑) กำกับดูแลลูกจ้างในหน่วยงานที่รับผิดชอบให้ปฏิบัติตามคู่มือว่าด้วยความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานของสถานประกอบกิจการ
(๒) วิเคราะห์งานในหน่วยงานที่รับผิดชอบเพื่อค้นหาความเสี่ยงหรืออันตรายเบื้องต้นจากการทำงาน โดยอาจร่วมดำเนินการกับเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับเทคนิค ระดับเทคนิคขั้นสูง หรือระดับวิชาชีพ
(๓) จัดทำคู่มือว่าด้วยความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานของหน่วยงานที่รับผิดชอบ โดยร่วมดำเนินการกับเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับเทคนิค ระดับเทคนิคขั้นสูง หรือระดับวิชาชีพ เพื่อเสนอคณะกรรมการความปลอดภัยหรือนายจ้าง แล้วแต่กรณี และทบทวนคู่มือดังกล่าวตามที่นายจ้างกำหนด โดยนายจ้างต้องกำหนดให้มีการทบทวนอย่างน้อยทุกหกเดือน
(๔) สอนวิธีการปฏิบัติงานที่ถูกต้องแก่ลูกจ้างในหน่วยงานที่รับผิดชอบเพื่อให้เกิดความปลอดภัยในการทำงาน
(๕) ตรวจสอบสภาพการทำงานของเครื่องจักร เครื่องมือ และอุปกรณ์ให้อยู่ในสภาพที่ปลอดภัยก่อนลงมือปฏิบัติงานประจำวัน
(๖) กำกับดูแลการใช้อุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคลของลูกจ้างในหน่วยงานที่รับผิดชอบ
(๗) รายงานการประสบอันตราย การเจ็บป่วย หรือการเกิดเหตุเดือดร้อนรำคาญอันเนื่องจากการทำงานของลูกจ้างต่อนายจ้าง และแจ้งต่อเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับเทคนิค ระดับเทคนิคขั้นสูง หรือระดับวิชาชีพ สำหรับสถานประกอบกิจการที่มีหน่วยงานความปลอดภัย ให้แจ้งต่อหน่วยงานความปลอดภัยทันทีที่เกิดเหตุ
(๘) ตรวจสอบหาสาเหตุการประสบอันตราย การเจ็บป่วย หรือการเกิดเหตุเดือดร้อนรำคาญอันเนื่องจากการทำงานของลูกจ้างร่วมกับเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับเทคนิค ระดับเทคนิคขั้นสูง หรือระดับวิชาชีพ และรายงานผลการตรวจสอบ รวมทั้งเสนอแนะแนวทางการแก้ไขปัญหาต่อนายจ้าง เพื่อป้องกันการเกิดเหตุโดยไม่ซักช้า
(๙) ส่งเสริมและสนับสนุนกิจกรรมความปลอดภัยในการทำงาน
(๑๐) ปฏิบัติงานด้านความปลอดภัยในการทำงานอื่นตามที่นายจ้างหรือเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับบริหารมอบหมาย
ข้อ ๑๐ นายจ้างของสถานประกอบกิจการตามบัญชี ๑ และบัญชี ๒ ที่มีลูกจ้างจำนวนสองคนขึ้นไป และสถานประกอบกิจการตามบัญชี ๓ ที่มีลูกจ้างจำนวนยี่สิบคนขึ้นไป ต้องจัดให้ลูกจ้าง
ระดับผู้บริหารซึ่งมีคุณสมบัติตามข้อ ๑๑ ทุกคน เป็นเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับบริหารของสถานประกอบกิจการ ทั้งนี้ ภายในหนึ่งร้อยยี่สิบวันนับแต่วันที่มีลูกจ้างครบจำนวนดังกล่าว
ในกรณีที่ลูกจ้างระดับผู้บริหารไม่มีคุณสมบัติตามข้อ ๑๑ ให้นายจ้างดำเนินการให้ลูกจ้างนั้นเข้ารับการฝึกอบรมตามข้อ ๑๑ (๑) เพื่อแต่งตั้งให้เป็นเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับบริหาร ทั้งนี้ ภายในหนึ่งร้อยยี่สิบวันนับแต่วันที่นายจ้างแต่งตั้งให้เป็นลูกจ้างระดับผู้บริหาร
ในกรณีที่ไม่มีลูกจ้างระดับผู้บริหาร ให้นายจ้างเป็นเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับบริหาร
ข้อ ๑๑ เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับบริหารต้องเป็นลูกจ้างระดับผู้บริหารและมีคุณสมบัติอย่างหนึ่งอย่างใด ดังต่อไปนี้
(๑) ผ่านการฝึกอบรมหลักสูตรเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับบริหาร
(๒) เคยเป็นเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับบริหารตามกฎกระทรวงกำหนดมาตรฐานในการบริหารและการจัดการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อม
ในการทำงาน พ.ศ. ๒๕๔๙ (๓) มีคุณสมบัติตามข้อ ๒๑
ข้อ ๑๒ เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับบริหารมีหน้าที่ ดังต่อไปนี้
(๑) กำกับดูแลเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานทุกระดับซึ่งอยู่ในบังคับบัญชาของตน
(๒) เสนอแผนงานหรือโครงการด้านความปลอดภัยในการทำงานในหน่วยงานที่รับผิดชอบต่อนายจ้าง
(๓) ส่งเสริม สนับสนุน และติดตามการดำเนินงานเกี่ยวกับความปลอดภัยในการทำงานให้เป็นไปตามแผนงานหรือโครงการ เพื่อให้มีการจัดการด้านความปลอดภัยในการทำงานที่เหมาะสมกับสถานประกอบกิจการ
(๔) กำกับดูแลและติดตามให้มีการแก้ไขข้อบกพร่องเพื่อความปลอดภัยในการทำงานของลูกจ้างตามที่ได้รับรายงานหรือตามข้อเสนอแนะของเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงาน
คณะกรรมการความปลอดภัย หรือหน่วยงานความปลอดภัย
ส่วนที่ ๒
เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานโดยหน้าที่เฉพาะ
---------------------------------------------------
ข้อ ๑๓ เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานโดยหน้าที่เฉพาะของสถานประกอบกิจการมีสามระดับ ดังต่อไปนี้
(๑) เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับเทคนิค
(๒) เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับเทคนิคขั้นสูง
(๓) เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับวิชาชีพ
ข้อ ๑๔ นายจ้างของสถานประกอบกิจการตามบัญชี ๒ ที่มีลูกจ้างจำนวนยี่สิบคนขึ้นไปแต่ไม่ถึงห้าสิบคน ต้องจัดให้ลูกจ้างซึ่งมีคุณสมบัติตามข้อ ๑๕ อย่างน้อยหนึ่งคน เป็นเจ้าหน้าที่
ความปลอดภัยในการทำงานระดับเทคนิค เพื่อปฏิบัติหน้าที่ประจำสถานประกอบกิจการ ทั้งนี้ ภายในหนึ่งร้อยแปดสิบวันนับแต่วันที่มีลูกจ้างครบจำนวนดังกล่าว
ข้อ ๑๕ เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับเทคนิคต้องมีคุณสมบัติอย่างหนึ่งอย่างใด ดังต่อไปนี้
(๑) ผ่านการฝึกอบรมหลักสูตรเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับเทคนิค
(๒) เคยเป็นเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับเทคนิคตามกฎกระทรวงกำหนดมาตรฐานในการบริหารและการจัดการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน พ.ศ. ๒๕๔๙
(๓) มีคุณสมบัติตามข้อ ๑๘ หรือข้อ ๒๑ แล้วแต่กรณี
ข้อ ๑๖ เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับเทคนิคมีหน้าที่ ดังต่อไปนี้
(๑) ตรวจสอบและเสนอแนะให้นายจ้างปฏิบัติตามกฎหมายว่าด้วยความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงาน
(๒) วิเคราะห์งานเพื่อขี้บ่งอันตรายและกำหนดมาตรการป้องกันและขั้นตอนการทำงานอย่างปลอดภัยเสนอต่อนายจ้าง
(๓) แนะนำให้ลูกจ้างปฏิบัติตามคู่มือว่าด้วยความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานของสถานประกอบกิจการ
(๔) ตรวจสอบหาสาเหตุการประสบอันตราย การเจ็บป้วย หรือการเกิดเหตุเดือดร้อนรำคาญอันเนื่องจากการทำงานของลูกจ้าง และรายงานผลการตรวจสอบ รวมทั้งเสนอแนะแนวทางการแก้ไขปัญหาต่อนายจ้าง เพื่อป้องกันการเกิดเหตุโดยไม่ชักช้า
(๕) รวบรวมสถิติและจัดทำร้ายงานและข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการประสบอันตรายการเจ็บป่วย หรือการเกิดเหตุเดือดร้อนรำคาญอันเนื่องจากการทำงานของลูกจ้างเสนอต่อนายจ้าง
(๖) ปฏิบัติงานด้านความปลอดภัยในการทำงานอื่นตามที่นายจ้างมอบหมาย
ข้อ ๑๗ นายจ้างของสถานประกอบกิจการตามบัญชี ๒ ที่มีลูกจ้างจำนวนห้าสิบคนขึ้นไปแต่ไม่ถึงหนึ่งร้อยคน ต้องจัดให้ลูกจ้างซึ่งมีคุณสมบัติตามข้อ ๑๘ อย่างน้อยหนึ่งคน เป็นเจ้าหน้าที่
ความปลอดภัยในการทำงานเฉพาะระดับเทคนิคขั้นสูง เพื่อปฏิบัติหน้าที่ประจำสถานประกอบกิจการ ทั้งนี้ ภายในหนี่งร้อยแปดสิบวันนับแต่วันที่มีลูกจ้างครบจำนวนดังกล่าว
ข้อ ๑๘ เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับเทคนิคขั้นสูงต้องมีคุณสมบัติอย่างหนึ่งอย่างใด ดังต่อไปนี้
(๑) สำเร็จการศึกษาไม่ต่ำกว่าระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพเทคนิคหรือเทียบเท่า และผ่านการฝึกอบรมหลักสูตรเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับเทคนิคขั้นสูง และผ่านการประเมิน
(๒) สำร็จการศึกษาไม่ต่ำกว่ามัธยมศึกษาปีที่ ๖ หรือระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ หรือเทียบเท่า และได้ทำงานเป็นเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับเทคนิคมาแล้วไม่น้อยกว่าห้าปี และผ่านการฝึกอบรมหลักสูตรเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับเทคนิคขั้นสูง และผ่านการประเมิน
(๓) มีคุณสมบัติตามข้อ ๒๑
(๔) เคยเป็นเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับเทคนิคขั้นสูงตามกฎกระทรวงกำหนดมาตรฐานในการบริหารและการจัดการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน พ.ศ. ๒๕๔๙
(๕) เคยเป็นเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ความปลอดภัยในการทำงานของลูกจ้าง ลงวันที่ ๖ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๒๘ หรือเคยเป็นเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานตามประกาศคณะกรรมกรรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ เรื่อง ความปลอดภัยในการทำงานของพนักงาน ลงวันที่ ๑๒ กันยายน พ.ศ. ๒๕๓๔ และผ่านการฝึกอบรมหลักสูตรเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับเทคนิคขั้นสูง และผ่านการประเมิน
(๖) เคยเป็นเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงนระดับวิชาชีพตามประกาศกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม เรื่อง ความปลอดภัยในการทำงานของลูกจ้าง ลงวันที่ ๓๑ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๔๐ และผ่านการฝึกอบรมหลักสูตรเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับเทคนิคขั้นสูง และผ่านการประเมิน
ข้อ ๑๙ เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับเทคนิคขั้นสูงมีหน้าที่ ดังต่อไปนี้
(๑) ตรวจสอบและเสนอแนะให้นายจ้างปฏิบัติตามกฎหมายว่าด้วยความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงาน
(๒) วิเคราะห์งานเพื่อขี้บ่งอันตรายและกำหนดมาตรการป้องกันและขั้นตอนการทำงานอย่างปลอดภัยเสนอต่อนายจ้าง
(๓) วิเคราะห์แผ่นงานหรือโครงการและข้อเสนอแนะของหน่วยงานต่าง ๆ และเสนอแนะมาตรการความปลอดภัยในการทำงานต่อนายจ้าง
(๔) ตรวจประเมินการปฏิบัติงานของสถานประกอบกิจการให้เป็นไปตามแผนงาน โครงการหรือมาตรการความปลอดภัยในการทำงาน
(๕) แนะนำให้ลูกจ้างปฏิบัติตามข้อบังคับและคู่มือว่าด้วยความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงานของสถานประกอบกิจการ
(๖) แนะนำ ฝึกสอน และอบรมลูกจ้าง เพื่อให้การปฏิบัติงานปลอดจากเหตุอันจะทำให้เกิดความไม่ปลอดภัยในการทำงาน
(๗) ตรวจสอบหาสาเหตุและวิเคราะห์การประสบอันตราย การเจ็บป่วย หรือการเกิดเหตุเดือดร้อนรำคาญอันเนื่องจากการทำงานของลูกจ้าง และรายงานผลการตรวจสอบ รวมทั้งเสนอแนะแนวทางการแก้ไขปัญหาต่อนายจ้างเพื่อป้องกันการเกิดเหตุโดยไม่ชักช้า
(๘) รวบรวมสถิติ วิเคราะห์ข้อมูล และจัดทำรายงานและข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการประสบอันตรายการเจ็บป่วย หรือการเกิดเหตุเดือดร้อนร่ำคาญอันเนื่องจากการทำงานของลูกจ้างเสนอต่อนายจ้าง
(๙) ปฏิบัติงานด้านความปลอดภัยในการทำงานอื่นตามที่นายจ้างมอบหมาย
ข้อ ๒๐ นายจ้างของสถานประกอบกิจการตามบัญชี ๑ ที่มีลูกจ้างจำนวนสองคนขึ้นไป และสถานประกอบกิจการตามบัญชี ที่มีลูกจ้างจำนวนหนึ่งร้อยคนขึ้นไป ต้องจัดให้ลูกจ้างซึ่งมีคุณสมบัติตามข้อ ๒๑ อย่างน้อยหนึ่งคน เป็นเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับวิชาชีพ เพื่อปฏิบัติหน้าที่ประจำสถานประกอบกิจการ ทั้งนี้ ภายในหนึ่งร้อยแปดสิบวันนับแต่วันที่มีลูกจ้างครบจำนวน ดังกล่าว
ข้อ ๒๑ เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับวิชาชีพต้องมีคุณสมบัติอย่างหนึ่งอย่างใด ดังต่อไปนี้
(๑) สำเร็จการศึกษาไม่ต่ำกว่าระดับปริญญาตรี สาขาอาชีวอนามัยและความปลอดภัย หรือเทียบเท่าตามที่อธิบดีประกาศกำหนด
(๒) สำเร็จการศึกษาไม่ต่ำกว่าระดับปริญญาตรี และเป็นเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับเทคนิคขั้นสูงมาแล้วไม่น้อยกว่าห้าปี และผ่านการฝึกอบรมหลักสูตรเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับวิชาชีพ และผ่านการประเมิน
(๓) สำเร็จการศึกษาไม่ต่ำกว่าระดับปริญญาตรี และเป็นผู้มีประสบการณ์ในการปฏิบัติงานไม่น้อยกว่าห้าปีในสถานประกอบกิจการตามบัญชี ๑ หรือสถานประกอบกิจการตามบัญชี ๒ และผ่านการฝึกอบรมหลักสูตรเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับวิชาชีพ และผ่านการประเมิน ภายในห้าปีนับแต่วันที่กฎกระทรวงนี้มีผลใช้บังคับ
(๔) เคยเป็นเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับวิชาชีพตามกฎกระทรวงกำหนดมาตรฐานในการบริหารและการจัดการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน พ.ศ. ๒๕๔๙
(๕) เคยเป็นเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับวิชาชีพตามประกาศกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม เรื่อง ความปลอดภัยในการทำงานของลูกจ้าง ลงวันที่ ๓๑ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๔๐ และผ่านการฝึกอบรมหลักสูตรเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับวิซาชีพ และผ่านการประเมินภายในห้าปีนับแต่วันที่กฎกระทรวงนี้มีผลใช้บังคับ
(๖) เคยเป็นเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ความปลอดภัยในการทำงานของลูกจ้าง ลงวันที่ ๖ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๒๘ หรือเป็นผู้มีคุณสมบัติเป็นเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานตามประกาศคณะกรรมการรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ เรื่อง ความปลอดภัยในการทำงานของพนักงาน ลงวันที่ ๑๒ กันยายน พ.ศ. ๒๕๓๔ และผ่านการฝึกอบรมหลักสูตรเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับวิชาชีพ และผ่านการประเมิน ภายในห้าปีนับแต่วันที่กฎกระทรวงนี้มีผลใช้บังคับ
ข้อ ๒ เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับวิชาชีพมีหน้าที่ ดังต่อไปนี้
(๑) ตรวจสอบและเสนอแนะให้นายจ้างปฏิบัติตามกฎหมายว่าด้วยความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน
(๒) วิเคราะห์งานเพื่อขี้บ่งอันตรายและกำหนดมาตรการป้องกันและขั้นตอนการทำงานอย่างปลอดภัยเสนอต่อนายจ้าง
(๓) ประเมินความสี่ยงด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน
(๔) วิเคราะห์แผนงานหรือโครงการ และข้อเสนอแนะของหน่วยงานต่าง ๆ และเสนอแนะมาตรการความปลอดภัยในการทำงานต่อนายจ้าง
(๕) ตรวจประเมินการปฏิบัติงานของสถานประกอบกิจการให้เป็นไปตามแผนงาน โครงการหรือมาตรการความปลอดภัยในการทำงาน
(๖) แนะนำให้ลูกจ้างปฏิบัติตามคู่มือว่าด้วยความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานของสถานประกอบกิจการ
(๗) แนะนำ ฝึกสอน และอบรมลูกจ้าง เพื่อให้การปฏิบัติงานปลอดจากเหตุอันจะทำให้เกิดความไม่ปลอดภัยในการทำงาน
(๘) ตรวจวัดและประเมินสภาพแวดล้อมในการทำงานหรือดำเนินการร่วมกับบุคคล หรือนิติบุคคลที่ขึ้นทะเบียนหรือได้รับใบอนุญาตตามกฎหมายว่าด้วยความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน หรือกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง
(๙) เสนอแนะต่อนายจ้างเพื่อให้มีการจัดการด้านความปลอดภัยในการทำงานที่เหมาะสมกับสถานประกอบกิจการและพัฒนาให้มีประสิทธิภาพอย่างต่อเนื่อง
(๑๐) ตรวจสอบหาสาเหตุและวิเคราะห์การประสบอันตราย การเจ็บป่วย หรือการเกิดเหตุเดือดร้อนรำคาญอันเนื่องจากการทำงานของลูกจ้าง และรายงานผลการตรวจสอบ รวมทั้งเสนอแนะแนวทางการแก้ขปัญหาต่อนายจ้างเพื่อป้องกันการเกิดเหตุโดยไม่ชักช้า
(๑๑) รวบรวมสถิติ วิเคราะห์ข้อมูล และจัดทำรายงานและข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการประสบอันตรายการเจ็บป่วย หรือการเกิดเหตุเดือดร้อนร่ำคาญอันเนื่องจากการทำงานของลูกจ้างเสนอต่อนายจ้าง
(๑๒) ให้ความรู้และอบรมด้านโรคจากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อมแก่ลูกจ้างก่อนเข้าทำงานและระหว่างทำงาน เพื่อทบทวนความรู้อย่างน้อยปีละหนึ่งครั้ง
(๑๓) ปฏิบัติงานด้านความปลอดภัยในการทำงานอื่นตามที่นายจ้างมอบหมาย
ข้อ ๒๓ นายจ้างต้องจัดให้เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับเทคนิค ระดับเทคนิคขั้นสูง และระดับวิชาชีพได้รับการฝึกอบรมหรือมีการพัฒนาความรู้เกี่ยวกับความปลอดภัยในการทำงานเพิ่มเติมปีละไม่น้อยกว่าสิบสองชั่วโมงตามหลักสูตรที่อธิบดีประ กาศกำหนด โดยนายจ้างต้องแจ้งให้อธิบดีหรือผู้ซึ่งอธิบดีมอบหมายทราบภายในสามสิบวันนับแต่วันที่การดำเนินการดังกล่าวแล้วเสร็จ
ข้อ ๒๔ ในกรณีที่เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับเทคนิค ระดับเทคนิคขั้นสูงหรือระดับวิชาชีพ พ้นจากการเป็นลูกจ้างของสถานประกอบกิจการ ให้นายจ้างจัดให้มีเจ้าหน้าที่
ความปลอดภัยในการทำงานดังกล่าวแทน แล้วแต่กรณี ภายในเก้าสิบวันนับแต่วันที่พ้นจากการเป็นลูกจ้าง
หมวด ๒
คณะกรรมการความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน
ของสถานประกอบกิจการ
----------------------------------------
ข้อ ๒๕ นายจ้างของสถานประกอบกิจการที่มีลูกจ้างจำนวนห้าสิบคนขึ้นไป ต้องจัดให้มีคณะกรรมการความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานของสถานประกอบกิจการภายในสามสิบวันนับแต่วันที่มีลูกจ้างครบจำนวนดังกล่าว
คณะกรรมการความปลอดภัยตามวรรคหนึ่ง ต้องประกอบด้วย นายจ้างหรือผู้แทนนายจ้างระดับบริหาร เป็นประธานกรรมการความปลอดภัย ผู้แทนนายจ้างระดับบังคับบัญชา และผู้แทนลูกจ้างเป็นกรรมการความปลอดภัย
ในการแต่งตั้งคณะกรรมการความปลอดภัยตามวรรคสอง หากสถานประกอบกิจการตามวรรคหนึ่ง เป็นสถานประกอบกิจการในบัญชี ๑ หรือบัญชี ให้นายจ้างแต่งตั้งผู้แทนนายจ้าง
ระดับบังคับบัญชาซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับเทคนิคขั้นสูงหรือระดับวิชาชีพจำนวนหนึ่งคน แล้วแต่กรณี เป็นกรรมการความปลอดภัยและเลขานุการ
ในการแต่งตั้งคณะกรรมการความปลอดภัยตามวรรคสอง หากสถานประกอบกิจการตามวรรคหนึ่งเป็นสถานประกอบกิจการในบัญชี ๓ ให้นายจ้างแต่งตั้งผู้แทนนายจ้างระดับบังคับบัญชาเพิ่มขึ้นอีกหนึ่งคนเป็นกรรมการความปลอดภัยและเลขานุการ
ข้อ ๒๖ คณะกรรมการความปลอดภัยตามข้อ ๒๕ ให้มีจำนวน ดังต่อไปนี้ โดยต้องมีจำนวนกรรมการความปลอดภัยซึ่งเป็นผู้แทนนายจ้างระดับบังคับบัญชาและกรรมการความปลอดภัย
ซึ่งเป็นผู้แทนลูกจ้างในสัดส่วนที่เท่ากัน
(๑) ไม่น้อยกว่าห้าคน สำหรับสถานประกอบกิจการที่มีลูกจ้างจำนวนห้าสิบคนขึ้นไป แต่ไม่ถึงหนึ่งร้อยคน
(๒) ไม่น้อยกว่าเจ็ดคน สำหรับสถานประกอบกิจการที่มีลูกจ้างจำนวนหนึ่งร้อยคนขึ้นไปแต่ไม่ถึงห้าร้อยคน
(๓) ไม่น้อยกว่าสิบเอ็ดคน สำหรับสถานประกอบกิจการที่มีลูกจ้างจำนวนห้าร้อยคนขึ้นไป
ข้อ ๒๗ การได้มาซึ่งกรรมการความปลอดภัยตามข้อ ๒๕ ให้ดำเนินการ ดังต่อไปนี้
(๑) กรรมการความปลอดภัยซึ่งเป็นผู้แทนนายจ้างระดับบังคับบัญชา ให้นายจ้างแต่งตั้งจากลูกจ้างระดับหัวหน้างานหรือเทียบเท่าขึ้นไป หรืออาจแต่งตั้งจากแพทย์หรือพยาบาลประจำ
สถานประกอบกิจการก็ได้
(๒) กรรมการความปลอดภัยซึ่งเป็นผู้แทนลูกจ้าง ให้มาจากลูกจ้างซึ่งไม่ใช่ลูกจ้างระดับ
บังคับบัญชาเลือกกันเอง
ข้อ ๒๘ นายจ้างต้องจัดให้กรรมการความปลอดภัยได้รับการฝึกอบรมหลักสูตรคณะกรรมการความปลอดภัย ภายในหกสิบวันนับแต่วันที่ได้รับการแต่งตั้งหรือได้รับเลือก เว้นแต่กรรมการความปลอดภัยผู้นั้นเคยผ่านการฝึกอบรมหลักสูตรดังกล่าวมาแล้ว
ข้อ ๒๙ กรรมการความปลอดภัยมีวาระการดำรงตำแหน่งคราวละสองปี
ให้นายจ้างดำเนินการแต่งตั้งหรือจัดให้มีการเลือกกรรมการความปลอดภัยใหม่ตามข้อ ๒๗ ให้แล้วเสร็จภายในสามสิบวันก่อนวันที่กรรมการความปลอดภัยครบวาระ
ในกรณีที่ไม่อาจดำเนินการแต่งตั้งหรือจัดให้การเลือกกรรมการความปลอดภัยใหม่ให้แล้วเสร็จภายในกำหนดเวลาตามวรรคสอง ให้กรรมการความปลอดภัยซึ่งพ้นจากตำแหน่งตามวาระนั้นอยู่ในตำแหน่งเพื่อดำเนินงานต่อไปจนกว่ากรรมการความปลอดภัยซึ่งได้มาใหม่เข้ารับหน้าที่
ในกรณีที่จำนวนลูกจ้างในสถานประกอบกิจการลดลงเหลือน้อยกว่าห้าสิบคน ให้กรรมการความปลอดภัยดำเนินการต่อไปจนกว่าครบวาระ
ข้อ ๓๐ นอกจากการพ้นจากตำแหน่งตามวาระ กรรมการความปลอดภัยพ้นจากตำแหน่ง เมื่อ
(๑) พ้นจากการเป็นผู้แทนนายจ้างระดับบริหาร ผู้แทนนายจ้างระดับบังคับบัญชา ผู้แทนลูกจ้างหรือเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับเทคนิคขั้นสูงหรือระดับวิชาชีพ
(๒) พ้นจากการเป็นลูกจ้างในสถานประกอบกิจการ
ข้อ ๓๑ การได้มาซึ่งกรรมการความปลอดภัยแทนตำแหน่งที่ว่าง ให้นายจ้างดำเนินการตามข้อ ๒๗ โดยอนุโลม และให้กรรมกรความปลอดภัยซึ่งได้รับการแต่งตั้งหรือได้รับเลือกแทนตำแหน่งที่ว่าง อยู่ในตำแหน่งเท่ากับวาระที่เหลืออยู่ของกรรมการความปลอดภัยซึ่งตนแทน
ข้อ ๓๒ คณะกรรมการความปลอดภัยมีหน้าที่และอำนาจ ดังต่อไปนี้
(๑) จัดทำนโยบายด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานของสถานประกอบกิจการ เสนอต่อนายจ้าง
(๒) จัดทำแนวทางการป้องกันและลดการเกิดอุบัติเหตุ การประสบอันตราย การเจ็บป่วยหรือการเกิดเหตุเดือดร้อนรำคาญอันเนื่องจากการทำงานของลูกจ้าง หรือความไม่ปลอดภัยในการทำงานเสนอต่อนายจ้าง
(๓) รายงานและเสนอแนะมาตรการหรือแนวทางปรับปรุงแก้ไขสภาพการทำงานและสภาพแวดล้อมในการทำงานให้เป็นไปตามกฎหมายเกี่ยวกับความปลอดภัยในการทำงานต่อนายจ้างเพื่อความปลอดภัยในการทำงานของลูกจ้าง ผู้รับเหมา และบุคคลภายนอกที่เข้ามาปฏิบัติงานหรือ
เข้ามาใช้บริการในสถานประกอบกิจการ
(๔) ส่งเสริมและสนับสนุนกิจกรรมด้านความปลอดภัยในการทำงานของสถานประกอบกิจการ
(๕) พิจารณาคู่มือว่าด้วยความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานของสถานประกอบกิจการเพื่อเสนอความเห็นต่อนายจ้าง
(๖) สำรวจการปฏิบัติการด้านความปลอดภัยในการทำงานและรายงานผลการสำรวจดังกล่าวรวมทั้งสถิติการประสบอันตรายที่เกิดขึ้นในสถานประกอบกิจการนั้นในการประชุมคณะกรรมการความปลอดภัยทุกครั้ง
(๗) พิจารณาโครงการหรือแผนการฝึกอบรมเกี่ยวกับความปลอดภัยในการทำงาน รวมถึงโครงการหรือแผนการอบรมเกี่ยวกับบทบาทหน้าที่ความรับผิดชอบในด้านความปลอดภัยของลูกจ้าง หัวหน้างาน ผู้บริหาร นายจ้าง และบุคลากรทุกระดับเพื่อเสนอความเห็นต่อนายจ้าง
(๘) จัดวางระบบให้ลูกจ้างทุกคนทุกระดับมีหน้าที่ต้องรายงานสภาพการทำงานที่ไม่ปลอดภัยต่อนายจ้าง
(๙) ติดตามผลความคืบหน้าเรื่องที่เสนอต่อนายจ้าง
(๑๐) รายงานผลการปฏิบัติงานประจำปี รวมทั้งระบุปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอแนะในการปฏิบัติหน้าที่ของคณะกรรมการความปลอดภัยเมื่อปฏิบัติหน้าที่ครบหนึ่งปีเสนอต่อนายจ้าง
(๑๑) ประเมินผลการดำเนินงานด้านความปลอดภัยในการทำงานของสถานประกอบกิจการ
(๑๒) ปฏิบัติงานด้านความปลอดภัยในการทำงานอื่นตามที่นายจ้างมอบหมาย
ข้อ ๓๓ ให้คณะกรรมการความปลอดภัยประชุมอย่างน้อยเดือนละหนึ่งครั้ง หรือเมื่อกรรมการความปลอดภัยไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งร้องขอ
การประชุมให้เป็นไปตามข้อบังคับที่คณะกรรมการความปลอดภัยกำหนด
ในการประชุมแต่ละครั้ง ให้แจ้งกำหนดการประชุมและระเบียบวาระการประชุมให้กรรมการความปลอดภัยทราบไม่น้อยกว่าสามวันก่อนถึงวันประชุม เว้นแต่มีเหตุจำเป็นเร่งด่วน
เมื่อเกิดอุบัติเหตุหรือภยันตรายใด ๆ ที่เป็นเหตุให้ลูกจ้างหรือบุคคลภายนอกสูญเสียอวัยวะ ทุพพลภาพ หรือเสียชีวิต ให้มีการประชุมคณะกรรมการความปลอดภัยโดยไม่ชักช้าเพื่อดำเนินการทบทวนรายงานการสอบสวนอุบัติเหตุ รวมทั้งเสนอแนะแนวทางป้องกันแก้ไขต่อนายจ้าง
ข้อ ๓๔ นายจ้างต้องเผยแพร่และปิดประกาศรายชื่อและหน้าที่รับผิดชอบของคณะกรรมการความปลอดภัยโดยเปิดเผย ณ สถานประกอบกิจการเป็นเวลาไม่น้อยกว่าสิบห้าวันเพื่อให้ลูกจ้างทราบ
เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงกรรมการความปลอดภัย ให้นายจ้างดำเนินการตามวรรคหนึ่งภายในเจ็ดวันนับแต่วันที่เปลี่ยนแปลง
ให้นายจ้างปิดประกาศมติของที่ประชุมคณะกรรมการความปลอดภัยเกี่ยวกับความปลอดภัยในการทำงานไว้ในที่เปิดเผย ณ สถานประกอบกิจการ เพื่อให้ลูกจ้างทราบภายในเจ็ดวันนับแต่วันที่มีมติ
ข้อ ๓๕ นายจ้างต้องจัดทำสำเนาบันทีกรายงานผลการดำเนินงานหรือรายงานการประชุมเกี่ยวกับการดำเนินการของคณะกรรมการความปลอดภัย เก็บไว้ในสถานประกอบกิจการเป็นเวลาไม่น้อยกว่าสองปีนับแต่วันจัดทำ และพร้อมที่จะให้พนักงานตรวจความปลอดภัยตรวจสอบ เว้นแต่มีการร้องทุกข์ว่านายจ้างไม่ปฏิบัติตามกฎหมายหรือมีการฟ้องร้องคดีเกี่ยวกับความปลอดภัยในการทำงานแม้จะพ้นเวลาที่กำหนด ให้นายจ้างเก็บรักษาเอกสารนั้นไว้จนกว่าจะมีคำสั่งหรือคำพิพากษาถึงที่สุดเกี่ยวกับเรื่องดังกล่าว
ื สำเนาบันทีกรายงานผลการดำเนินงานหรือรายงานการประชุมเกี่ยวกับการดำเนินการของคณะกรรมการความปลอดภัยตามรรคหนึ่ง นายจ้างอาจจัดทำในรูปแบบข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์และเก็บข้อมูลดังกล่าวไว้เป็นหลักฐาน
ข้อ ๓๖ นายจ้างต้องเก็บหลักฐานการเปลี่ยนแปลงกรรมการและเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงาน รวมทั้งหน้าที่รับผิดชอบของคณะกรรมการความปลอดภัย และเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานดังกล่าวไว้ในสถานประกอบกิจการเป็นเวลาไม่น้อยกว่าสองปี และพร้อมที่จะให้พนักงานตรวจความปลอดภัยตรวจสอบ โดยอาจจัดเก็บในรูปแบบข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ก็ได้
ข้อ ๓๗ เมื่อนายจ้างได้รับข้อเสนอแนะของคณะกรรมการความปลอดภัยเกี่ยวกับความปลอดภัย อาชีวอนมัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานแล้ว หากข้อเสนอแนะดังกล่าวเป็นข้อเสนอแนะตามข้อ ๓๒ (๓) ให้นายจ้างปฏิบัติตามข้อเสนอแนะโดยไม่ชักช้า
ในกรณีที่ข้อเสนอแนะเป็นข้อเสนอแนะตามข้อ ๓๒ (๑) (๒) (๕) หรือ (๗) ให้นายจ้างพิจารณาดำเนินการตามที่เห็นสมควร และหากนายจ้างไม่อาจดำเนินการตามข้อเสนอแนะได้ ให้แจ้งเหตุผลที่ไม่อาจดำเนินการได้ให้คณะกรรมการความปลอดภัยทราบด้วย
หมวด ๓
หน่วยงานความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน
------------------------------------------------------------
ข้อ ๓๘ นายจ้างของสถานประกอบกิจการตามบัญชี ๑ ต้องจัดให้มีหน่วยงานความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน เพื่อดูแลและปฏิบัติงานด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานของสถานประกอบกิจการ ภายในสามสิบวันนับแต่วันที่จัดตั้งสถานประกอบกิจการดังกล่าว
ข้อ ๓๙ นายจ้างในสถานประกอบกิจการตามบัญชี ๒ ที่มีลูกจ้างจำนวนสองร้อยคนขึ้นไปต้องจัดให้มีหน่วยงานความปลอดภัยเพื่อดูแลและปฏิบัติงานด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และ
สภาพแวดล้อมในการทำงานของสถานประกอบกิจการ ภายในหกสิบวันนับแต่วันที่มีลูกจ้างครบจำนวนดังกล่าว
ในกรณีที่จำนวนลูกจ้างในสถานประกอบกิจการตามวรรคหนึ่ง ลดลงจนมีจำนวนน้อยกว่าสองร้อยคนแต่ไม่น้อยกว่าหนึ่งร้อยคน ให้สถานประกอบกิจการนั้นคงหน่วยงานความปลอดภัยไว้
ข้อ ๔๐ หน่วยงานความปลอดภัยมีหน้าที่ ดังต่อไปนี้
(๑) วางแผนการบริหารความเสี่ยงของสถานประกอบกิจการและดูแลให้มีการดำเนินการอย่างต่อเนื่อง
(๒) จัดทำข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการป้องกันอันตรายจากอุบัติเหตุและอุบัติภัย และการควบคุมความเสี่ยงภายในสถานประกอบกิจการเสนอต่อนายจ้าง
(๓) จัดทำคู่มือว่าด้วยความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานของสถานประกอบกิจการ
(๔) จัดทำข้อเสนอแนะเกี่ยวกับอุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคลซึ่งต้องสอดคล้องกับการทำงานแต่ละประเภทตามที่กฎหมายกำหนดเสนอต่อนายจ้าง เพื่อให้ลูกจ้างหรือผู้ที่เกี่ยวข้องใช้ในขณะปฏิบัติงาน
(๕) ส่งสริมและสนับสนุนด้านวิชาการและการปฏิบัติงานของหน่วยงานต่าง ๆ เพื่อป้องกันอันตรายในการทำงานหรือการเจ็บป่วยเนื่องจากการทำงานในสถานประกอบกิจการ
(๖) จัดอบรมเกี่ยวกับความรู้พื้นฐานและข้อปฏิบัติเกี่ยวกับความปลอดภัยในการทำงานแก่ลูกจ้างที่เข้าทำงานใหม่ก่อนให้ปฏิบัติงาน รวมทั้งลูกจ้างซึ่งต้องทำงานที่มีความแตกต่างไปจากงานเดิมที่เคยปฏิบัติอยู่และอาจเกิดอันตรายด้วย
(๗) ประสานการดำเนินงานความปลอดภัยในการทำงานกับหน่วยงานต่าง ๆ ทั้งภายในและภายนอกสถานประกอบกิจการ รวมทั้งหน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้อง
(๘) ตรวจประเมินระบบความปลอดภัยในการทำงานในภาพรวมของสถานประกอบกิจการ
(๙) รวบรวมผลการดำเนินงานของเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานทุกระดับและติดตามผลการดำเนินงานด้านความปลอดภัยในการทำงานให้เป็นไปตามนโยบายและแผนงานของสถานประกอบกิจการ พร้อมทั้งรายงานให้นายจ้างและคณะกรรมการความปลอดภัยทราบทุกสามเดือน
(๑๐) ปฏิบัติงานด้านความปลอดภัยในการทำงานอื่นตามที่นายจ้างมอบหมาย
ข้อ ๔๑ นายจ้างตามข้อ ๓๘ และข้อ ๓๙ ต้องจัดให้ลูกจ้างซึ่งผ่านการฝึกอบรมหลักสูตรผู้บริหารหน่วยงานความปลอดภัยและไม่เป็นเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับวิชาชีพ จำนวนหนึ่งคน เป็นผู้บริหารหน่วยงานความปลอดภัยประจำสถานประกอบกิจการ เพื่อทำหน้าที่เฉพาะด้านบริหารบังคับบัญชา และรับผิดชอบในการปฏิบัติงานของหน่วยงานความปลอดภัย
ในการแต่งตั้งผู้บริหารหน่วยงานความปลอดภัยตามวรรคหนึ่ง หากบุคคลที่นายจ้างแต่งตั้งเคยเป็นเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับวิชาชีพ ให้บุคคลดังกล่าวได้รับการยกเว้นไม่ต้องผ่านการฝึกอบรมหลักสูตรผู้บริหารหน่วยงานความปลอดภัย
ในกรณีที่ผู้บริหารหน่วยงานความปลอดภัยพ้นจากการเป็นลูกจ้างของสถานประกอบกิจการนายจ้างต้องจัดให้มีผู้บริหารหน่วยงานความปลอดภัยแทนภายในเก้าสิบวันนับแต่วันที่ผู้บริหารหน่วยงานความปลอดภัยเดิมพ้นจากการเป็นลูกจ้าง
หมวด ๔
การขึ้นทะเบียนเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงาน
และผู้บริหารหน่วยงานความปลอดภัย
------------------------------------------------------------
ข้อ ๔๒ นายจ้างต้องนำรายชื่อเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับหัวหน้างาน ระดับบริหาร ระดับเทคนิค ระดับเทคนิคขั้นสูง หรือระดับวิชาชีพ และผู้บริหารหน่วยงาน
ความปลอดภัย ไปขึ้นทะเบียนต่อกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน พร้อมเอกสารหรือหลักฐานตามที่ระบุไว้ในแบบคำขอ ภายในสามสิบวันนับแต่วันที่นายจ้างแต่งตั้งบุคคลดังกล่าว
ข้อ ๔๓ การฝึกอบรมเพื่อให้มีคุณสมบัติเป็นเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงาน ผู้บริหาร หน่วยงานความปลอดภัย หรือคณะกรรมการความปลอดภัยตามกฎกระทรวงนี้ นายจ้างจะจัดการฝึกอบรมเองหรือให้ผู้ให้บริการด้านการฝึกอบรมเป็นผู้ดำเนินการก็ได้
หลักสูตรการฝึกอบรม คุณสมบัติของวิทยากร และการดำเนินการฝึกอบรมตามวรรคหนึ่งให้เป็นไปตามที่อธิบดีประกาศกำหนด
ข้อ ๔๔ กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานต้องจัดให้มีการประเมินตามข้อ ๑๘ (๑) (๒) (๕) และ (๖) และข้อ ๒๑ (๒) (๓) (๕) และ (๖) หลักเกณฑ์การประเมินตามวรรคหนึ่ง ให้เป็นไปตามที่อธิบดีประกาศกำหนด
ข้อ ๔๕ ในกรณีที่เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับหัวหน้างาน ระดับบริหาร ระดับเทคนิค ระดับเทคนิคชั้นสูง หรือระดับวิชาชีพ หรือผู้บริหารหน่วยงานความปลอดภัย
ในสถานประกอบกิจการพ้นจากตำแหน่งหรือพ้นจากหน้าที่ แล้วแต่กรณี นายจ้างต้องแจ้งการพ้นจากตำแหน่งหรือพ้นจากหน้าที่ของบุคคลดังกล่าวให้กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานทราบภายในสามสิบวันนับแต่วันที่บุคคลนั้นพ้นจากตำแหน่งหรือพันจากหน้าที่ หรือบุคคลดังกล่าวอาจใช้สิทธิแจ้งก็ได้
หมวด ๕
การแจ้งและการส่งเอกสาร
------------------------------------------------------------
ข้อ ๔๖ เมื่อมีคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการความปลอดภัยหรือกรรมการความปลอดภัยให้นายจ้างส่งสำเนาคำสั่งดังกล่าวต่ออธิบดีหรือผู้ซึ่งอธิบดีมอบหมาย ภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่มีคำสั่งแต่งตั้ง
ข้อ ๔๗ ให้นายจ้างจัดส่งรายงานผลการดำเนินงานของเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับเทคนิค ระดับเทคนิคขั้นสูง และระดับวิชาชีพ ต่ออธิบดีหรือผู้ซึ่งอธิบดีมอบหมาย สองครั้ง โดยครั้งแรกภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ ๓๐ มิถุนายน และครั้งที่สองภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ ๓๑ ธันวาคม ของทุกปี ทั้งนี้ ตามแบบที่อธิบดีประกาศกำหนด
ข้อ ๔๘ ในกรณีที่กฎกระทรวงนี้มิได้กำหนดวิธีการแจ้งหรือส่งเอกสารไว้เป็นการเฉพาะการส่งเอกสารหรือหลักฐานต่ออธิบดีหรือผู้ซึ่งอธิบดีมอบหมาย ให้นายจ้างแจ้งหรือส่งโดยวิธีการ
ทางอิเล็กทรอนิกส์ตามที่อธิบดีประกาศกำหนดเป็นหลัก ในระหว่างที่ยังไม่สามารถแจ้งหรือส่งโดยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ได้ ให้แจ้งหรือส่งตามวิธีการที่อธิบดีประกาศกำหนดไปพลางก่อน
บทเฉพาะกาล
------------------------------------------------------------
ข้อ ๔๙ ให้เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงาน และหัวหน้าหน่วยงานความปลอดภัยซึ่งนายจ้างได้แต่งตั้งตามกฎกระทรวงกำหนดมาตรฐานในการบริหารและการจัดการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน พ.ศ. ๒๕๔๙ เป็นเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงาน และผู้บริหารหน่วยงานความปลอดภัยตามกฎกระทรวงนี้
ข้อ ๕๐ ให้คณะกรรมการความปลอดภัย าชีวนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน ในสถานประกอบกิจการตามกฎกระทรวงกำหนดมาตรฐานในการบริหารและการจัดการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน พ.ศ. ๒๕๔๙ ซึ่งดำรงตำแหน่งอยู่ก่อนวันที่กฎกระทรวงนี้ ใช้บังคับเป็นคณะกรรมกรความปลอดภัยตามกฎกระทรวงนี้ จนกว่าจะครบวาระการดำรงตำแหน่ง
ข้อ ๕๑ ให้หน่วยงานความปลอดภัยตามกฎกระทรวงกำหนดมาตรฐานในการบริหารและการจัดการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน พ.ศ. ๒๕๔๙ เป็นหน่วยงานความปลอดภัยตามกฎกระทรวงนี้
ให้ไว้ ณ วันที่ ๒ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๖๕
สุชาติ ชมกลิ่น
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน