ไฟฟ้าสถิต สามารถทำให้การระเบิดหรือเกิดเพลิงไหม้จนเป็นที่มาของการสูญเสียทรัพย์สินและอาจทำให้ได้รับบาดเจ็บได้ ซึ่งทางกรมโรงงานอุตสาหกรรมได้บอกว่า ไฟฟ้าสถิต (Electrostatic) เป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เกิดเพลิงไหม้ถึง 5 เปอร์เซ็นต์ และอุณหภูมิจากการถ่ายเทประจุกว่า 1000 องศาเซลเซียสในเสียววินาที ทำให้เกิดการสูญเสียในที่ทำงาน ดังนั้นผู้ประกอบการหรือผู้ปฏิบัติงานควรทำความเข้าใจถึงปัจจัยที่ก่อให้เกิดไฟฟ้าสถิตและหาทางป้องกันเพื่อความปอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน
ไฟฟ้าสถิต (Electrostatic) เกิดขึ้นได้อย่างไร
ไฟฟ้าสถิตเกิดขึ้นจากความไม่สมดุลของประจุไฟฟ้าในอะตอมของวัตถุ โดยปกติสสารจะมีอะตอม ซึ่งในอะตอมจะมีประจุบวก (นิวตรอน) ประจุลบ (อิเล็กตรอน) และประจุที่เป็นกลาง (โปรตอน) เมื่อวัตถุที่เป็นฉนวนไฟฟ้ามีการเสียดสีกัน มีการสัมผัสกันของวัตถุ รวมถึงการเหนี่ยวนำ จะทำให้ประจุลบ (อิเล็กตรอน) ในวัตถุนั้นถ่ายเทจากวัตถุ A ไปอยู่ที่วัตถุ B เรียกว่าการถ่ายเทของประจุไฟฟ้า หรือ Electrostatic Discharge (ESD)
ไฟฟ้าสถิตเกิดได้กับวัตถุทั้งที่เป็นของแข็งและของเหลว (สารทำละลาย ปิโตรเลียม เชื้อเพลิง) เมื่อมีการไหลผ่านวัตถุอื่นๆ หรือการเขย่า เหตุการณ์การเกิดไฟฟ้าสถิตที่เราคุ้นเคย เช่น หลังการหวีผม เส้นผมจะชี้ฟูขึ้น เกิดจากมีการถ่ายโอนประจุลบนผมไปอยู่ที่หวี ทำให้เส้นผมมีประจุบวกเยอะ (เส้นผมเป็นบวก) เมื่อเส้นผมที่เป็นบวกมาอยู่ใกล้ๆ กันก็จะเกิดการผลักดันกัน ทำให้เส้นผมเกิดการชี้ฟูไปคนละทิศคนละทาง
---------------------------------------
ไฟฟ้าสถิตที่เกิดในที่ทำงาน
ไฟฟ้าสถิตสามารถเกิดขึ้นได้ในกระบวนการการผลิต การทำงานของเครื่องจักรในโรงงาน เช่น การใช้อุปกรณ์ระบายอากาศ การลอกเทป การเคลื่อนที่บริเวณสายพานลำเลียง เป็นต้น กลุ่มอุตสาหกรรมที่เสี่ยงเกิดไฟฟ้าสถิตมีด้วยกันหลายกลุ่ม เนื่องจากวัสดุหรือสินค้าในกลุ่มอุตสาหกรรมนั้นๆ เป็นวัตถุที่เป็นฉนวนมีประจุไฟฟ้า เช่น อุตสาหกรรมสิ่งทอ อุตสาหกรรมกระดาษ โรงสีข้าว หรืออุตสาหกรรมน้ำมันเชื้อเพลิง ที่มีความสามารถในการนำไฟฟ้า
ผลกระทบจากการเกิดไฟฟ้าสถิต
อย่างที่บอกไปข้างต้นว่า การเกิดไฟฟ้าสถิตในที่ทำงานสามารถก่อให้เกิดการระเบิดและเกิดไฟไหม้ได้ เนื่องมาจากประกายไฟที่เกิดจากไฟฟ้าสถิต เมื่อสัมผัสกับไอระเหยที่รั่วไหลอยู่ในอากาศ จึงสามารถทำให้เกิดการระเบิดและเพลิงไหม้ได้ รวมไปถึงสารละลายหรือเชื้อเพลิงต่างๆ ที่ใช้ในที่ทำงาน จะต้องมีการควบคุมความเร็วในการไหวผ่านท่อหรือวัสดุอื่นๆ เช่น น้ำมันดีเซลสามารถสะสมประจุไฟฟ้าได้เป็นจำนวนมาก จึงเสี่ยงต่อการเกิดไฟฟ้าสถิตและประกายไฟ
การเกิดไฟฟ้าสถิตเป็นอันตรายต่อชีวิตได้ เนื่องมาจากการคลายประจุไฟฟ้าผ่านร่างกายมนุษย์ หากมีปริมาณมากๆ สามารถส่งผลต่อร่างกายได้ เช่น มีอาการชา รู้สึกเหมือนมีเข็มทิ่มแทงบริเวณมือ แขน ข้อศอก และส่วนอื่นๆ ของร่างกาย หรือเกิดการกระตุกของกล้ามเนื้อ และอาจร้ายแรงจนถึงแก่ชีวิตได้
นอกจากนี้การเกิดไฟฟ้าสถิตยังสามารถส่งผลกระทบทำให้อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์หรือเครื่องจักรเกิดการชำรุดได้ ซึ่งเกิดจากการรบกวนของกระแสไฟฟ้าส่วนเกินที่วิ่งผ่าน ทำให้คุณสมบัติทางไฟฟ้าของอุปกรณ์นั้นลดลง หรือเสียหายไปเลย
---------------------------------------
วิธีควบคุมและป้องกันไฟฟ้าสถิตในที่ทำงาน
การทำกราวด์ (Grounding) คือการถ่ายเทประจุไฟฟ้าให้มีศักดิ์เป็น 0 เท่ากับพื้นดิน หรืออธิบายให้เข้าใจมากขึ้น คือการจำกัดกระแสไฟฟ้าสถิตที่เกิดขึ้นในพื้นที่การทำงาน ให้ไหลผ่านลงดินเพื่อไม่ให้เกิดการสะสมประจุไฟฟ้าสถิต
ส่วนการเชื่อมต่อฝาก (Bonding) คือการเชื่อมต่อสิ่งต่างๆ ที่เกิดจากวัสดุนำไฟฟ้า โดยการใช้สายไฟหรือตัวนำไฟฟ้าอื่น เพื่อให้ประจุไฟฟ้าสถิตเคลื่อนที่สะดวก อาจจะใช้บัสบาร์ที่เป็นทองแดงหรืออะลูมิเนียมเปลือย รวมทั้งการใช้สายตัวนำหุ้มฉนวน ที่สามารถทนแรงดึงได้
การควบคุมความชื้น
ความชื้นในอากาศเป็นอีกปัจจัยที่ส่งผลให้เกิดประจุไฟฟ้าสถิตซึ่งนำไปสู่การเกิด Discharge เมื่อค่าความชื้นในอากาศต่ำกว่า 30 เปอร์เซ็นต์ (อากาศแห้ง) โดยเฉพาะในกลุ่มอุตสาหกรรมกระดาษ หรือสิ่งทอ ดังนั้นจำเป็นต้องมีการควบคุมความชื้นในโรงงานอุตสาหกรรมให้อยู่ที่ 60-70 เปอร์เซ็นต์
การทำไออนไนเซชั่น (Ionizer)
การทำไอออนไนเซชั่น คือการสร้างทางเดินให้กับประจุลบหรืออิเล็กตรอนที่เกิดขึ้น และสะสมประจุอยู่ในอากาศ ให้สามารถถ่ายเทลงกราวด์ได้ เพื่อไม่ให้เกิดการ Discharge นิยมใช้ในพื้นที่ที่สามารถเกิดไฟฟ้าสถิตแรงดันสูง
---------------------------------------
การใช้อุปกรณ์ป้องกันไฟฟ้าสถิต
อุปกรณ์ป้องกันไฟฟ้าสถิตส่วนบุคคล
อีกวิธีที่สามารถช่วยป้องกันผู้ปฏิบัติงานจากการเกิดไฟฟ้าสถิตได้ คือการใช้อุปกรณ์ป้องกันไฟฟ้าสถิตส่วนบุคคล โดยเฉพาะผู้ปฏิบัติงานในอุตสาหกรรมที่ผลิตอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ ดังนั้นทางโรงงานจำเป็นต้องมีอุปกรณ์ป้องกันส่วนบุคคลให้กับพนักงาน ทั้งหมวก รองเท้า ถุงมือ ชุดป้องกันไฟฟ้าสถิต และสายรัดข้อมือ เพื่อความปลอดภัยของพนักงานและทรัพย์สินในธุรกิจ
เราจะเห็นได้ว่าความจริงแล้วไฟฟ้าสถิตที่เราคุ้นเคย และบางครั้งเคยรู้สึกเหมือนไฟช็อตเมื่อนำแขนไปแตะกับโลหะ หรือแตะกับคนอื่นๆ แต่ในด้านการปฏิบัติงานในอุตสาหกรรมต่างๆ การเกิดไฟฟ้าสถิตและสะสมประจุไฟฟ้าไว้เป็นจำนวนมาก สามารถก่อให้เกิดการ Discharge ที่ส่งผลต่อมนุษย์ และอุปกรณ์ในอุตสาหกรรม รวมไปถึงทำให้เกิดการระเบิด และเกิดเพลิงไหม้ได้ ผู้ประกอบการจำเป็นต้องตระหนัก พร้อมทั้งหาทางควบคุมและป้องกันไฟฟ้าสถิตในที่ทำงาน
ที่มา : www.ofm.co.th
#อันตรายจากไฟฟ้าสถิต #ไฟฟ้าสถิต #staticelectricity #ป้องกันไฟฟ้าสถิต
Comments