top of page
IMG_0676.png
รูปภาพนักเขียนChannarong Kasamrong

การทำงานในที่อับอากาศ หรือ Confined space คืออะไร ?

อัปเดตเมื่อ 1 พ.ย. 2565



ที่อับอากาศ สิ่งที่ถูกมองข้าม ทั้งๆที่อยู่ในบ้านของตัวเอง...

วันนี้เราจะมาคุยกันเรื่องที่อับอากาศคืออะไร? กฎหมายประเทศไทยกำหนดไว้อย่างไรบ้าง? ก่อนอื่นเราต้องเล่าย้อนสถิติการเสียชีวิตในช่วงที่ผ่านมาหลายปีถึงประเทศไทยจะมีกฎหมายความปลอกภัยในการทงานที่อับอากาศมาฉบับแรกตั้งแต่ปีพ.ศ. 2533 โดยกระทรวงมหาดไทย ฉบับที่สองปีพ.ศ. 2547 โดยกระทรวงแรงงาน และฉบับอัพเดทล่าสุดปีพ.ศ. 2562 ก็ยังมีอุบัติเหตุที่เกิดจากที่อับอากาศขึ้นแทบทุกปี แต่ละครั้งก็มีผู้เสียชีวิตไม่ต่ำกว่าหนึ่งราย ตามสถิติและสถานที่เสียชีวิตดังกราฟ

ที่อับอากาศคืออะไร?

คือ สถานที่ที่สามารถแบ่งได้ 3 ลักษณะตามกฎหมาย

1. ที่ซึ่งมีทางเข้าออกจำกัด

2. ไม่ได้ออกแบบไว้สำหรับเป็นสถานที่ทำงานอย่างต่อเนื่องเป็นประจำ

3. มีสภาพอันตราย หรือ มีบรรยากาศอันตราย

เช่น อุโมงค์ ถ้ำ บ่อ หลุม ห้องใต้ดิน ห้องนิรภัย ถังน้ำมัน ถังหมัก ถัง ไซโล ท่อ เตา ภาชนะ หรืออื่นๆ


อัพเดทเหตุการณ์ล่าสุด พ.ศ. 2565

•19 กรกฎาคม อุบัติเหตุช่างคอนโดซ่อมปั๊มในบ่อบำบัดน้ำเสีย ดับ 3 ราย เจ็บ 1 ราย พื้นที่เขตบางนา กรุงเทพมหานคร

การป้องกันสามารถเริ่มต้นทำได้ง่าย ๆ โดยการเพิ่มความรู้ความเข้าในการทำงานที่เกี่ยวกับงานอับอากาศ หรืองาน Confined space โดยเฉพาะ


ระยะเวลาการเรียน

1.) หลักสูตรผู้อนุญาต ผู้ควบคุม ผู้ช่วยเหลือ และผู้ปฏิบัติงาน 4 วันต่อเนื่อง (24 ชั่วโมง)

2.) หลักสูตรผู้อนุญาต 1 วัน (7 ชั่วโมง)

3.) หลักสูตรผู้ควบคุม 2 วัน (12 ชั่วโมง)

4.) หลักสูตรผู้ช่วยเหลือ 3 วัน (18 ชั่วโมง)

5.) หลักสูตรผู้ปฏิบัติงาน 2 วัน (12 ชั่วโมง)

6.) หลักสูตรทบทวน 3 ชั่วโมง


คุณสมบัติผู้เรียน

1.) อายุ 18 ปีบริบูรณ์

2.) ไม่เป็นโรคทางเดินหายใจ โรคหัวใจ

3.) ผ่านการอบรมดับเพลิงขั้นต้น (6 ชั่วโมงตามกฎหมาย)


เนื้อหาการเรียน

1.กฎหมายความปลอดภัยในการทำงานในที่อับอากาศ

2.ความหมาย/ชนิด/ประเภท และอันตรายในที่อับอากาศ

3.การชี้บ่งอันตราย การประเมินสภาพอันตราย การประเมินสภาพพื้นที่ และการเตรียมพร้อมในการทำงานในที่อับอากาศ

4.วิธีการปฏิบัติงานในที่อับอากาศที่ถูกต้องและปลอดภัย

5.อุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคลและอุปกรณ์ ช่วยเหลือและช่วยชีวิต ที่ใช้ในที่อับอากาศ

6.ระบบการขออนุญาตทำงานในที่อับอากาศและการขอยกเลิกการอนุญาตทำงาน และหลักการตัดแยกพลังงาน

7.บทบาท หน้าที่ และการสื่อสารระหว่าง ผู้อนุญาต ผู้ควบคุมงาน ผู้ช่วยเหลือและผู้ปฏิบัติงานในที่อับอากาศ

8.เทคนิคการตรวจสอบสภาพอากาศ รวมทั้งการใช้และการตรวจสอบเครื่องมือหรืออุปกรณ์ตรวจวัดสภาพอากาศ

9.เทคนิคการระบายอากาศ

10.การสั่งให้หยุดทำงานชั่วคราว

11.การวางแผนการปฏิบัติงานและการป้องกันอันตรายที่อาจเกิดขึ้นจากการทำงาน ในที่อับอากาศ

12.อันตรายที่อาจได้รับในกรณีฉุกเฉินและวิธีการหลีกหนีภัย

13.การช่วยเหลือและช่วยชีวิต

14.การปฐมพยาบาลและการช่วยเหลือเบื้องตัน และการปฐมพยาบาลเพื่อช่วยเหลือผู้ที่หยุดหายใจหรือหัวใจหยุดเต้น (CPR)

15.เทคนิคในการจัดทำแผนปฏิบัติงานและการป้องกันอันตราย

16.การควบคุมดูแลการใช้เครื่องป้องกันและอุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคล


"สภาพอันตราย หมายความว่า สภาพหรือสภาวะที่อาจทำให้ลูกจ้างได้รับอันตรายจากการทำงาน โดยมีอย่างใดอย่างหนึ่ง ดังต่อไปนี้

(1) มีวัตถุหรือวัสดุที่อาจก่อให้เกิดการจมลงของลูกจ้าง หรือทับถมลูกจ้างที่เข้าไปทำงาน

(2) มีสภาพที่อาจทำให้ลูกจ้างตก ถูกกัก หรือติดอยู่ภายใน

(3) มีสภาวะที่ลูกจ้างมีความเสี่ยงที่จะได้รับอันตรายจากบรรยากาศอันตราย

(4) สภาพอี่นใดที่อาจเป็นอันตรายต่อร่างกายภาพหรือชีวิตที่อธิบดีประกาศกำหนด"


"บรรยากาศอันตราย หมายความว่า สภาพอากาศที่อาจทำให้ลูกจ้างได้รับอันตรายจากสภาวะอย่างใดอย่างหนึ่ง ดังนี้

(1) มีออกซิเจนต่ำกว่าร้อยละ 19.5 หรือมากกว่าร้อยละ 23.5 โดยปริมาตร


(2) มีก๊าซ ไอ หรือละอองที่ติดไฟหรือระเบิดได้ เกินร้อยละ 10 ของค่าความเข้มข้นขั้นต่ำของสารเคมีแต่ละชนิดในอากาศที่อาจติดไปหรือระเบิดได้ (Lower Flammable limit หรือ lower explosive limit)


(3) มีฝุ่นที่ติดไฟหรือระเบิดได้ ซึ่งมีค่าความเข้มข้นเท่ากับ หรือมากกว่าค่าความเข้มข้นต่ำสุดของฝุ่นที่ติดไฟหรือระเบิดได้แต่ละชนิด (minimum explosible concentration)


(4) มีค่าความเข้มข้นของสารเคมีแต่ละชนิดเกินมาตรฐานที่กำหนดตามกฎกระทรวงว่าด้วยการกำหนดมาตรฐานในการบริหารจัดการฯ เกี่ยวกับสารเคมีอันตราย


(5) สภาวะอื่นใดที่อาจเป็นอันตรายต่อร่างกายหรือชีวิตตามที่อธิบดีประกาศกำหนด“


จะทำงานในที่อับอากาศ ต้องมีมาตรการป้องกันยังไงบ้าง ?


#confinedspace #ที่อับอากาศ #อับอากาศ #การทำงานในที่อับอากาศ


ดู 316 ครั้ง0 ความคิดเห็น

โพสต์ล่าสุด

ดูทั้งหมด

Comments


bottom of page