กฎกระทรวง
กําหนดมาตรฐานในการบริหาร จัดการ และดําเนินการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย
และสภาพแวดล้อมในการทํางานเกี่ยวกับสารเคมีอันตราย
พ.ศ. ๒๕๕๖
------------------------------------
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา ๕ วรรคหนึ่ง และมาตรา ๘ วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติ ความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทํางาน พ.ศ. ๒๕๕๔ อันเป็นกฎหมายที่มี บทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจํากัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา ๒๙ ประกอบกับมาตรา ๓๓ มาตรา ๔๑ และมาตรา ๔๓ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทําได้โดยอาศัย อํานาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานออกกฎกระทรวงไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ในกฎกระทรวงนี้
“สารเคมีอันตราย” หมายความว่า ธาตุ สารประกอบ หรือสารผสม ตามบัญชีรายชื่อ ที่อธิบดีประกาศกําหนด ซึ่งมีสถานะเป็นของแข็ง ของเหลว หรือก๊าซ ไม่ว่าจะอยู่ในรูปของเส้นใย ฝุ่น ละออง ไอ หรือฟูม ที่มีคุณสมบัติอย่างหนึ่งอย่างใดหรือหลายอย่างรวมกัน ดังต่อไปนี้
(๑) มีพิษ กัดกร่อน ระคายเคือง ซึ่งอาจทําให้เกิดอาการแพ้ การก่อมะเร็ง การเปลี่ยนแปลง ทางพันธุกรรม เป็นอันตรายต่อทารกในครรภ์หรือสุขภาพอนามัย หรือทําให้ถึงแก่ความตาย
(๒) เป็นตัวทําปฏิกิริยาที่รุนแรง เป็นตัวเพิ่มออกซิเจนหรือไวไฟ ซึ่งอาจทําให้เกิดการระเบิด หรือไฟไหม้
“ขีดจํากัดความเข้มข้นของสารเคมีอันตราย” หมายความว่า ระดับความเข้มข้นของสารเคมี อันตรายที่กําหนดให้มีอยู่ได้ในบรรยากาศแวดล้อมในการทํางานที่ลูกจ้างซึ่งมีสุขภาพปกติสามารถสัมผัส หรือได้รับเข้าสู่ร่างกายได้ทุกวันตลอดเวลาที่ทํางานโดยไม่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ
“การทํางานเกี่ยวกับสารเคมีอันตราย” หมายความว่า การกระทําใด ๆ ซึ่งอาจทําให้ลูกจ้าง ได้รับสารเคมีอันตราย เช่น การผลิต การติดฉลาก การห่อหุ้ม การเคลื่อนย้าย การเก็บรักษา การถ่ายเท การขนถ่าย การขนส่ง การกําจัด การทําลาย การเก็บสารเคมีอันตรายที่ไม่ใช้แล้ว รวมทั้งการบํารุงรักษา การซ่อมแซม และการทําความสะอาดเครื่องมือ เครื่องใช้ ตลอดจนภาชนะบรรจุ สารเคมีอันตราย
“ผลิต” หมายความว่า ทํา ผสม ปรุง ปรุงแต่ง เปลี่ยนรูป แปรสภาพ และหมายความรวมถึง การบรรจุ และแบ่งบรรจุ
“ครอบครอง” หมายความว่า การมีไว้เพื่อตนเองหรือผู้อื่นไม่ว่าจะมีไว้เพื่อขาย ขนส่ง ใช้หรือเพื่อประการอื่นใด และรวมถึงการทิ้งไว้ หรือปรากฏอยู่ในบริเวณที่ครอบครองด้วย “ก๊าซ” หมายความว่า ของไหลมีปริมาตรหรือรูปทรงไม่แน่นอนที่สามารถฟุ้งกระจายและ เปลี่ยนสภาพเป็นของเหลวหรือของแข็งได้ โดยการเพิ่มความดันหรือลดอุณหภูมิ “เส้นใย” หมายความว่า สารที่มีลักษณะเรียวยาวคล้ายเส้นด้าย มีต้นกําเนิดจากแร่ พืช สัตว์ หรือใยสงเคราะห์
“ฝุ่น” หมายความว่า อนุภาคของของแข็งที่สามารถฟุ้ง กระจาย ปลิวหรือลอยอยู่ในอากาศได้ “ละออง” หมายความว่า อนุภาคของของเหลวที่สามารถลอยอยู่ในอากาศได้
“ไอ” หมายความว่า ก๊าซที่เกิดขึ้นจากของเหลวหรือของแข็งในสภาวะปกติ
“ฟูม” หมายความว่า อนุภาคของของแข็งที่เกิดจากการรวมตัวของไอสามารถลอยตัวอยู่ใน อากาศได้
หมวด ๑
ข้อมูลความปลอดภัยของสารเคมีอันตราย
------------------------------------
ข้อ ๒ ให้นายจ้างที่มีสารเคมีอันตรายอยู่ในครอบครองจัดทําบัญชีรายชื่อสารเคมีอันตรายและรายละเอียดข้อมูลความปลอดภัยของสารเคมีอันตรายตามแบบที่อธิบดีประกาศกําหนด พร้อมทั้งแจ้งต่ออธิบดีหรือผู้ซึ่งอธิบดีมอบหมายภายในเจ็ดวันนับแต่วันที่มีสารเคมีอันตรายอยู่ในครอบครอง
ภายในเดือนมกราคมของทุกปี ให้นายจ้างแจ้งบัญชีรายชื่อสารเคมีอันตราย และรายละเอียด ข้อมูลความปลอดภัยของสารเคมีอันตรายที่ตนมีอยู่ในครอบครองต่ออธิบดี หรือผู้ซึ่งอธิบดีมอบหมายด้วย
ข้อ ๓ ให้นายจ้างแจ้งให้ลูกจ้างทราบและอธิบายให้ลูกจ้างเข้าใจข้อมูลความปลอดภัยของสารเคมีอันตรายที่อยู่ในครอบครองของนายจ้าง ข้อความและเครื่องหมายต่าง ๆ ที่ปรากฏในเอกสารคู่มือ ฉลาก ป้าย หรือข่าวสารที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งข้อมูลต่าง ๆ ตามที่ได้กําหนดไว้ในกฎกระทรวงนี้
ข้อ ๔ ให้นายจ้างจัดให้ลูกจ้างที่ทํางานเกี่ยวกับสารเคมีอันตรายทราบและเข้าใจวิธีการใน การทํางานที่ถูกต้องและปลอดภัย รวมทั้งต้องจัดให้มีมาตรการควบคุมลูกจ้างให้ปฏิบัติตามวิธีการดังกล่าว ในการนี้ให้นายจ้างจัดทําคู่มือเกี่ยวกับแนวปฏิบัติและขั้นตอนในการทํางานเกี่ยวกับสารเคมีอันตราย คําแนะนําลูกจ้างเกี่ยวกับการป้องกันอันตราย ความหมายของข้อมูลที่มีบนฉลากและเอกสารข้อมูล ความปลอดภัยของสารเคมีอันตราย
ข้อ ๕ ลูกจ้างต้องปฏิบัติตามวิธีการทํางานที่ถูกต้องและปลอดภัยตามคู่มือการปฏิบัติงาน ที่นายจ้างจัดทําขึ้นตามข้อ ๔ และเมื่อเกิดเหตุฉุกเฉินเกี่ยวกับสารเคมีอันตราย ลูกจ้างต้องบรรเทาเหตุ และแจ้งให้หัวหน้างานทราบทันที
หมวด ๒
ฉลากและป้าย
------------------------------------
ข้อ ๖ ให้นายจ้างจัดให้มีการปิดฉลากที่เป็นภาษาไทยมีขนาดใหญ่พอสมควร อ่านง่าย คงทน ไว้ที่หีบห่อบรรจุภัณฑ์ ภาชนะบรรจุ หรือวัสดุห่อหุ้มสารเคมีอันตราย และฉลากนั้นอย่างน้อย ต้องมีรายละเอียดเกี่ยวกับรายการ ดังต่อไปนี้
(๑) ชื่อผลิตภัณฑ์ (product name)
(๒) ชื่อสารเคมอีันตราย (hazardous substances)
(๓) รูปสัญลักษณ์ (pictograms)
(๔) คําสัญญาณ (signal words)
(๕) ข้อความแสดงอันตราย (hazard statements)
(๖) ข้อควรระวังหรือข้อปฏิบัติเพื่อป้องกันอันตราย (precautionary statements)
ในกรณีที่ไม่สามารถปิดฉลากตามวรรคหนึ่งได้เนื่องจากขนาดหรือลักษณะของหีบห่อบรรจุภัณฑ์ภาชนะบรรจุ หรือวัสดุห่อหุ้มสารเคมีอันตราย ให้นายจ้างกําหนดวิธีการที่มีประสิทธิภาพเพื่อแสดงให้ลูกจ้าง ได้รู้ถึงรายละเอียดของสารเคมีอันตรายตามวรรคหนึ่ง ณ บริเวณที่มีการทํางานเกี่ยวกับสารเคมีอันตรายนั้น ข้อ ๗ ให้นายจ้างจัดให้มีป้ายห้าม ป้ายให้ปฏิบัติ หรือป้ายเตือน ในการทํางานเกี่ยวกับ สารเคมีอันตรายไว้ในที่เปิดเผยเห็นได้ชัดเจน ณ สถานที่ทํางานของลูกจ้าง
ข้อ ๘ ในกรณีที่อธิบดีประกาศให้สารเคมีอันตรายใดต้องควบคุมเป็นพิเศษ ให้นายจ้าง ปิดประกาศหรือจัดทําป้ายแจ้งข้อความเกี่ยวกับอันตรายและมาตรการป้องกันอันตรายที่อาจเกิดจาก สารเคมีอันตรายดังกล่าว
ข้อ ๙ ให้นายจ้างปิดประกาศหรือจัดทําป้ายแจ้งข้อความ “ห้ามสูบบุหรี่ รับประทานอาหาร หรือเครื่องดื่ม ประกอบอาหาร หรือเก็บอาหาร” ด้วยตัวอักษรขนาดที่เห็นได้ชัดเจนไว้ ณ บริเวณ สถานที่ทํางานเกี่ยวกับสารเคมีอันตราย สถานที่เก็บรักษาสารเคมีอันตราย หรือในยานพาหนะขนส่ง สารเคมีอันตราย และจะต้องควบคุมดูแลมิให้มีการฝ่าฝืนข้อห้ามดังกล่าว
หมวด ๓
การคุ้มครองความปลอดภัย
------------------------------------
ข้อ ๑๐ ในบริเวณที่ลูกจ้างทํางานเกี่ยวกับสารเคมีอันตราย ให้นายจ้างจัดให้มีสภาพและคุณลักษณะ ดังต่อไปนี้
(๑) ถูกสุขลักษณะ สะอาด และเป็นระเบียบเรียบร้อย พื้นที่ปฏิบัติงานต้องเรียบ สม่ำเสมอไม่ลื่น และไม่มีวัสดุเกะกะกีดขวางทางเดิน
(๒) มีระบบระบายอากาศแบบทั่วไป หรือแบบที่ทําให้สารเคมีอันตรายเจือจางหรือแบบที่มีเครื่องดูดอากาศเฉพาะที่ ที่เหมาะสมกับประเภทของสารเคมีอันตรายโดยให้มีออกซิเจนในบรรยากาศ ไม่ต่ํากว่าร้อยละสิบเก้าจุดห้าโดยปริมาตร
(๓) มีระบบป้องกันและกําจัดอากาศเสียโดยใช้ระบบระบายอากาศเฉพาะที่ ระบบเปียก การปิดคลุม หรือระบบอื่น เพื่อมิให้มีสารเคมีอันตรายในบรรยากาศเกินปริมาณที่กําหนด และป้องกัน มิให้อากาศที่ระบายออกไปเป็นอันตรายต่อผู้อื่น
ข้อ ๑๑ ในบริเวณที่ลูกจ้างทํางานเกี่ยวกับสารเคมีอันตราย ให้นายจ้างจัดให้มีสถานที่และอุปกรณ์ เพื่อคุ้มครองความปลอดภัยตามรายการ ดังต่อไปนี้
(๑) ที่ชําระล้างสารเคมีอันตรายที่ลูกจ้างสามารถใช้ได้ทันทีในกรณีฉุกเฉิน อย่างน้อยต้องมี ที่ล้างตาและฝักบัวชําระล้างร่างกายจากสารเคมีอันตราย
(๒) ที่ล้างมือและล้างหน้า ไม่น้อยกว่าหนึ่งที่ต่อลูกจ้างสิบห้าคนและให้เพิ่มจํานวนขึ้นตามสัดส่วน ของลูกจ้าง ส่วนที่เกินเจ็ดคนให้ถือเป็นสิบห้าคน
(๓) ห้องอาบน้ําเพื่อใช้ชําระล้างร่างกายไม่น้อยกว่าหนึ่งห้องตอล่ ูกจ้างสิบห้าคนและให้เพิ่มจํานวนขึ้น ตามสัดส่วนของลูกจ้าง ส่วนที่เกินเจ็ดคนให้ถือเป็นสิบห้าคน ทั้งนี้ จะต้องจัดของใช้ที่จําเป็นสําหรับ การชําระล้างสารเคมีอันตรายออกจากร่างกายให้เพียงพอและใช้ได้ตลอดเวลา
(๔) อุปกรณ์และเวชภัณฑ์ที่จําเป็นสําหรับการปฐมพยาบาลลูกจ้างที่ได้รับอันตรายจากสารเคมี อันตราย
(๕) อุปกรณ์ดับเพลิงที่เหมาะสมกับสารเคมีอันตรายแต่ละชนิด และเพียงพอสําหรับการผจญเพลิง เบื้องต้น
(๖) ชุดทํางานเฉพาะสําหรับลูกจ้างซึ่งทํางานเกี่ยวกับสารเคมีอันตราย และที่เก็บชุดทํางาน ที่ใช้แล้วดังกล่าวให้เหมาะสมกับสารเคมีอันตรายประเภทนั้น
ข้อ ๑๒ ให้นายจ้างจัดอุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคลตามลักษณะอันตรายและ ความรุนแรงของสารเคมีอันตราย หรือลักษณะของงาน ให้ลูกจ้างใช้หรือสวมใส่เพื่อป้องกันอันตราย ที่อาจจะเกิดแก่ชีวิต ร่างกาย หรือสุขภาพอนามัยของลูกจ้าง
ข้อ ๑๓ ให้ลูกจ้างซึ่งทํางานเกี่ยวกับสารเคมีอันตรายใช้หรือสวมใส่อุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัย ส่วนบุคคลตามข้อ ๑๒ ในกรณีที่ลูกจ้างไม่ใช้หรือไม่สวมใส่อุปกรณ์นั้น ให้นายจ้างสั่งลูกจ้าง หยุดการทํางานทันที จนกว่าลูกจ้างจะได้ใช้หรือสวมใส่อุปกรณ์ดังกล่าว
ข้อ ๑๔ นายจ้างต้องดูแลสถานที่ทํางานเกี่ยวกับสารเคมีอันตรายและตรวจสอบอุปกรณ์ คุ้มครองความปลอดภัยที่จัดไว้ ให้สามารถใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพและปลอดภัยตลอดเวลา
ข้อ ๑๕ ห้ามนายจ้างยินยอมหรือปล่อยปละละเลยให้ลูกจ้างหรือบุคคลใดเข้าพักอาศัย หรือ พักผ่อนในสถานที่ทํางานเกี่ยวกับสารเคมีอันตราย สถานที่เก็บรักษาสารเคมีอันตราย หรือในยานพาหนะ ขนส่งสารเคมีอันตราย
ข้อ ๑๖ ในกรณีที่มีการร้องเรียนหรือมีปัญหาด้านความไม่ปลอดภัยในการทํางานเกี่ยวกับ สารเคมีอันตราย ให้นายจ้างที่มีสารเคมีอันตรายอยู่ในครอบครองดําเนินการตรวจสอบข้อเท็จจริงและ หากพบว่ามีผลกระทบต่อสภาพแวดล้อมในการทํางานหรือสุขภาพอนามัย ให้ดําเนินการแก้ไขให้เกิด ความปลอดภัยโดยไม่ชักช้า
หมวด ๔
การเก็บรักษา การบรรจุ และการถ่ายเทสารเคมีอันตราย
------------------------------------
ข้อ ๑๗ ให้นายจ้างจัดสถานที่เก็บรักษาสารเคมีอันตรายให้มีสภาพและคุณลักษณะ ดังต่อไปนี้
(๑) ต้องสามารถทนไฟได้ไม่น้อยกว่าหกสิบนาที เว้นแต่ในกรณีที่เป็นสถานที่เก็บรักษาสารเคมี อันตรายที่มีคุณสมบัติเป็นตัวทําปฏิกิริยาที่รุนแรง เป็นตัวเพิ่มออกซิเจน หรือไวไฟซึ่งอาจทําให้เกิด การระเบิดหรือไฟไหม้ต้องสามารถทนไฟได้ไม่น้อยกว่าหนึ่งร้อยแปดสิบนาที หรือไม่น้อยกว่าเก้าสิบนาที หากสถานที่ดังกล่าวมีระบบน้ําดับเพลิงอัตโนมัติ
(๒) มีพื้นเรียบ ไม่ขรุขระ ไม่เปียก ไม่ลื่น สามารถรับน้ําหนักได้ และไม่ดูดซับสารเคมีอันตราย รวมทั้งต้องดูแลปรับปรุงสถานที่มิให้ชํารุด ผุ กร่อน และรักษาความสะอาดพื้นมิให้มีเศษขยะ เศษวัสดุ หรือสิ่งที่เป็นเชื้อเพลิง
(๓) มีระยะห่างจากอาคารที่ลูกจ้างทํางานในระยะที่ปลอดภัยตามที่อธิบดีประกาศกําหนด (๔) มีทางเดินภายในและภายนอกกว้างเพียงพอที่จะนําเครื่องมือและอุปกรณ์ดับเพลิงมาใช้ได้ อย่างสะดวก ไม่มีสิ่งกีดขวาง และให้มีมาตรการเพื่อให้เกิดความปลอดภัยตลอดทาง (๕) มีทางเข้าออกสถานที่เก็บรักษาสารเคมีอันตรายไม่น้อยกว่าสองทาง ใช้ประตูทนไฟและ เป็นชนิดเปิดออกสู่ภายนอก และปิดกุญแจห้องทุกครั้งเมื่อไม่มีการปฏิบัติงาน
(๖) มีระบบระบายอากาศที่เหมาะสม และเกิดความปลอดภัยแก่ลูกจ้างที่ปฏิบัติงานและ จัดการป้องกันมิให้อากาศที่ระบายออกเป็นอันตรายแก่ผู้อื่น
(๗) มีการป้องกันสาเหตุที่อาจทําให้เกิดอัคคีภัยในบริเวณสถานที่เก็บรักษาสารเคมีอันตราย เช่น ประกายไฟ เปลวไฟ อุปกรณ์ไฟฟ้า การเสียดสี ท่อร้อน การลุกไหม้ได้เอง เป็นต้น
(๘) จัดทําเขื่อน กําแพง ทํานบ ผนัง หรือสิ่งอื่นใดที่มีลักษณะคล้ายกัน เพื่อกักมิให้สารเคมี อันตรายที่เป็นของเหลว ไหลออกภายนอกบริเวณสถานที่เก็บรักษาสารเคมีอันตราย และมีรางระบาย สารเคมีอันตรายที่รั่วไหลไปยังที่ที่สามารถรวบรวมเพื่อนําไปกําจัดอย่างปลอดภัย เพื่อไม่ให้มีการสะสมตกค้าง โดยรางระบายต้องแยกจากระบบระบายน้ํา
(๙) จัดทํารั้วล้อมรอบสถานที่เก็บรักษาสารเคมีอันตรายที่อยู่นอกอาคาร
(๑๐) มีป้ายข้อความว่า “สถานที่เก็บรักษาสารเคมีอันตราย ห้ามเข้าโดยไม่ได้รับอนุญาต” ปิดประกาศไว้ที่ทางเข้าสถานที่นั้นให้เห็นได้ชัดเจนตลอดเวลา
(๑๑) มีเครื่องหมายหรือสัญลักษณ์ที่แสดงถึงอันตรายของสารเคมีอันตรายให้เห็นได้ชัดเจน ตลอดเวลา
(๑๒) มีแผนผังแสดงที่ตั้งของอุปกรณ์ดับเพลิง อุปกรณ์ผจญเพลิง อุปกรณ์ที่ใช้ในกรณีฉุกเฉิน ติดไว้บริเวณทางเข้าออกให้เห็นได้ชัดเจนตลอดเวลา
ข้อ ๑๘ ให้นายจ้างจัดให้มีมาตรการป้องกันอันตรายที่อาจเกิดจากสารเคมีอันตรายในบริเวณ สถานที่เก็บรักษาสารเคมีอันตราย รวมทั้งมาตรการเบื้องต้นในการแก้ไขเยียวยาอันตรายที่เกิดขึ้น
ข้อ ๑๙ การจัดเก็บสารเคมีอันตรายให้นายจ้างปฏิบัติ ดังต่อไปนี้
(๑) เก็บรักษาสารเคมีอันตรายตามมาตรฐานการเก็บรักษาที่อธิบดีประกาศกําหนด
(๒) จัดทําบัญชีรายชื่อ ปริมาณสารเคมีอันตรายทุกชนิดที่จัดเก็บในสถานที่เก็บรักษาสารเคมีอันตราย แต่ละแห่งอย่างน้อยปีละหนึ่งครั้งตามปีปฏิทิน
(๓) ระมัดระวังมิให้หีบห่อ ภาชนะบรรจุ หรือวัสดุห่อหุ้มสารเคมีอันตรายชํารุดหรือพังทลาย (๔) มีมาตรการป้องกันความเสียหายหรืออันตรายที่เกิดจากการขุดเจาะ หรือมีเครื่องหมาย แสดงตําแหน่งจัดเก็บให้เห็นชัดเจนในกรณีที่เก็บสารเคมีอันตรายไว้ใต้ดิน
ข้อ ๒๐ ให้นายจ้างดําเนินการเกี่ยวกับหีบห่อ ภาชนะบรรจุ หรือวัสดุห่อหุ้มสารเคมีอันตราย ดังต่อไปนี้
(๑) ใช้วัสดุที่แข็งแรง ไม่ชํารุด ผุ กร่อน และสามารถเคลื่อนย้ายหรือขนส่งได้ด้วยความปลอดภัย สามารถรองรับความดันของสารเคมีอันตรายได้ในสภาพการใช้งานปกติ มีอุปกรณ์นิรภัยเพื่อระบายความดัน ให้อยู่ในระดับที่ปลอดภัยได้ในกรณีเกิดความดันผิดปกติ
(๒) ตรวจสอบ และบํารุงรักษาให้อยู่ในสภาพที่ใช้งานได้อย่างปลอดภัยตลอดเวลา หากพบว่ามี สารเคมีอันตรายรั่วไหล หรือคาดว่าจะรั่วไหลออกมา ต้องทําการแยกเก็บไว้ต่างหากในที่ที่ปลอดภัยและ ทําความสะอาดสิ่งรั่วไหลโดยเร็ว รวมทั้งทําการซ่อมแซมหรือเปลี่ยนให้อยู่ในสภาพที่ปลอดภัย (๓) บรรจุสารเคมีอันตรายไม่เกินพิกัดที่กําหนดไว้สําหรับภาชนะนั้น
(๔) มีมาตรการป้องกันไม่ให้ยานพาหนะหรือสิ่งอื่นใดชน หรือกระแทกหีบห่อ ภาชนะบรรจุ หรือวัสดุห่อหุ้มที่มีสารเคมีอันตรายบรรจุอยู่
(๕) ควบคุมดูแลหีบห่อ ภาชนะบรรจุ หรือวัสดุห่อหุ้มที่มีสารเคมีอันตรายบรรจุมิให้เปิดทิ้งไว้ เว้นแต่เพื่อการตรวจสอบหรือใช้ประโยชน์
ข้อ ๒๑ การบรรจุสารเคมีอันตรายที่มีคุณสมบัติไวไฟหรือระเบิดได้ ต้องห่างจากแหล่งความร้อน และแหล่งที่ก่อให้เกิดประกายไฟในระยะที่ปลอดภัย หากสารเคมีอันตรายที่บรรจุอยู่ในภาชนะหรือวัสดุ ห่อหุ้มทําให้ผิวภายนอกของภาชนะบรรจุ หรือวัสดุห่อหุ้มสารเคมีอันตรายนั้นมีความร้อนต้องมีฉนวน หุ้มโดยรอบ ในกรณีที่ไม่สามารถทําฉนวนหุ้มโดยรอบได้ ให้จัดทําป้ายเตือน
การต่อท่อหรืออุปกรณ์ต่าง ๆ เข้ากับภาชนะบรรจุ หากมีลิ้นปิดเปิด ต้องจัดให้อยู่ในตําแหน่ง ที่ผู้ปฏิบัติงานสามารถปิดเปิดได้อย่างรวดเร็วในกรณีฉุกเฉิน
ข้อ ๒๒ การถ่ายเทสารเคมีอันตรายไปยังภาชนะหรือเครื่องมืออื่น นายจ้างต้องติดชื่อสารเคมีอันตราย และสัญลักษณ์เกี่ยวกับความปลอดภัยบนภาชนะหรือเครื่องมือที่บรรจุใหม่ด้วย
ข้อ ๒๓ นายจ้างต้องเก็บหีบห่อ ภาชนะบรรจุ หรือวัสดุห่อหุ้มสารเคมีอันตรายที่ใช้แล้วซึ่งปนเปื้อน และยังมิได้กําจัด ให้อยู่ในที่ปลอดภัยและเหมาะสมกับชนิดของสารเคมีอันตราย
หมวด ๕
การขนถ่าย การเคลื่อนย้าย หรือการขนส่ง
------------------------------------
ข้อ ๒๔ ให้นายจ้างปฏิบัติเกี่ยวกับการขนถ่าย เคลื่อนย้าย หรือขนส่งสารเคมีอันตราย ดังต่อไปนี้
(๑) มีมาตรการป้องกันการฟุ้งกระจายรวมทั้งการกระเด็น หก ล้น รั่ว ไหล หรือตกหล่น ของสารเคมีอันตราย
(๒) ตรวจสอบความพร้อมของลูกจ้างที่ขับยานพาหนะ และยานพาหนะที่ใช้ในการขนถ่าย เคลื่อนย้าย หรือขนส่งสารเคมีอันตรายให้อยู่ในสภาพสมบูรณ์พร้อมที่จะปฏิบัติงานได้อย่างปลอดภัย และต้องปฏิบัติตามกฎหมายที่เกี่ยวข้องด้วย
(๓) จัดให้มีคู่มือหรือข้อปฏิบัติในการแก้ไขปัญหากรณีฉุกเฉินได้อย่างปลอดภัยเป็นภาษาไทย เก็บไว้ในยานพาหนะ พร้อมที่จะนําไปใช้ได้ทันที และจัดให้มีการฝึกอบรมและฝึกซ้อมวิธีการแก้ไขปัญหา เมื่อเกิดเหตุฉุกเฉินแก่ลูกจ้างอย่างน้อยปีละหนึ่งครั้ง และบันทึกไว้เป็นหนังสือ พร้อมที่จะให้พนักงาน ตรวจความปลอดภัยตรวจสอบได้
(๔) จัดให้มีเครื่องดับเพลิงชนิดเคลื่อนย้ายได้ที่มีคุณสมบัติสามารถดับเพลิงจากสารเคมีอันตราย ตามความเหมาะสม และจัดให้มีหน้ากากป้องกันสารเคมีอันตรายหรือเครื่องช่วยหายใจตามความจําเป็นของ ชนิดสารเคมีอันตราย ติดไว้ในยานพาหนะที่บรรทุกสารเคมีอันตรายอย่างเพียงพอพร้อมที่จะใช้ได้ทันที
(๕) หีบห่อ ภาชนะบรรจุ หรือวัสดุห่อหุ้มสารเคมีอันตรายที่บรรทุกในยานพาหนะต้องยึดแน่นกับ ฐานรองรับและยานพาหนะเพื่อมิให้เคลื่อนที่หรือลอยตัวได้ ฐานรองรับและยานพาหนะต้องมีความมั่นคง แข็งแรงเพียงพอที่จะรับน้ําหนักของหีบห่อ ภาชนะบรรจุ หรือวัสดุห่อหุ้มรวมกับน้ําหนักของสารเคมีอันตราย ในอัตราสูงสุดไม่เกินน้ําหนักที่จะบรรทุกได้
(๖) ห้ามบรรทุกสารเคมีอันตรายที่อาจเกิดปฏิกิริยาต่อกันไว้รวมกันในยานพาหนะ เว้นแต่ได้จัด ให้มีมาตรการขนส่งที่ปลอดภัยตามกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง หรือตามมาตรฐานที่อธิบดีประกาศกําหนด
ข้อ ๒๕ ในการส่งสารเคมีอันตรายโดยใช้ท่อ ให้นายจ้างปฏิบัติ ดังต่อไปนี้
(๑) ใช้ท่อและข้อต่อที่แข็งแรง ไม่ชํารุด ผุ กร่อน หรือรั่ว
(๒) ตรวจสอบและบํารุงรักษาท่อและข้อต่อที่ใช้ในการส่งสารเคมีอันตรายให้อยู่ในสภาพสมบูรณ์ พร้อมใช้งานได้อย่างปลอดภัยตลอดเวลา
(๓) ติดตั้งหรือวางท่อในลักษณะที่มีการป้องกันที่จะไม่ทําให้เกิดการชํารุดเสียหายอันเนื่องจาก การชน การทับ หรือการกระแทก จากยานพาหนะหรือสิ่งอื่นใด
(๔) การวางท่อใต้ดินหรือใต้น้ํา ต้องใช้ท่อหรือข้อต่อประเภทที่ทนทานต่อการกัดกร่อนและ ต้องมีเครื่องหมายแสดงตําแหน่งของท่อเป็นระยะตลอดแนวให้เห็นได้โดยชัดเจน
(๕) การส่งสารเคมีอันตรายต่างชนิดกัน ต้องใช้ท่อที่มีสีหรือทาสีต่างกัน และทําเครื่องหมาย แสดงความแตกต่างให้เห็นได้ชัดเจน
(๖) การส่งสารเคมีอันตรายที่มีความร้อนทําให้ผิวภายนอกท่อมีอุณหภูมิสูงขึ้น ต้องมีฉนวนกัน ความร้อนหุ้มท่อไว้ด้วย
(๗) การส่งสารเคมีอันตรายที่มีคุณสมบัติไวไฟหรือระเบิดได้ ต้องวางท่อส่งให้มีระยะห่าง ที่เพียงพอและปลอดภัยจากแหล่งความร้อนหรือแหล่งที่ก่อให้เกิดประกายไฟ และให้ต่อสายดินที่ท่อนั้นด้วย
หมวด ๖
การจัดการและการกําจัด
------------------------------------
ข้อ ๒๖ ให้นายจ้างทําความสะอาดหรือกําจัดสารเคมีอันตรายที่หก รั่วไหล หรือไม่ใช้แล้ว โดยวิธีที่กําหนดในข้อมูลความปลอดภัยตามชนิดของสารเคมีอันตรายนั้น
การกําจัดกากสารเคมีอันตรายหรือสารเคมีอันตรายที่เสื่อมสภาพ อาจกําจัดโดยการเผา ฝัง หรือใช้สารเคมี ด้วยวิธีการที่ปลอดภัยตามหลักวิชาการ และเป็นไปตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ข้อ ๒๗ ให้นายจ้างปฏิบัติต่อหีบห่อ ภาชนะบรรจุ หรือวัสดุห่อหุ้มสารเคมีอันตรายที่ปนเปื้อน และไม่ต้องการใช้แล้ว ดังต่อไปนี้
(๑) ไม่ใช้บรรจุสิ่งของอื่น และควบคุมดูแลลูกจ้างมิให้นําไปใช้บรรจุสิ่งของอื่นด้วย
(๒) เก็บรวบรวมไว้ในภาชนะหรือในที่ที่ปลอดภัยนอกบริเวณที่ลูกจ้างทํางาน
(๓) กําจัดโดยวิธีการที่ปลอดภัยและเหมาะสมกับชนิดของสารเคมีอันตรายและเป็นไปตาม กฎหมายที่เกี่ยวข้อง
หมวด ๗
การควบคุมระดับความเข้มข้นของสารเคมีอันตราย
------------------------------------
ข้อ ๒๘ ให้นายจ้างจัดให้มีระบบป้องกันและควบคุม เพื่อมิให้มีระดับความเข้มข้นของสารเคมี อันตรายในบรรยากาศของสถานที่ทํางานและสถานที่เก็บรักษาสารเคมีอันตรายเกินขีดจํากัดความเข้มข้น ของสารเคมีอันตรายตามที่อธิบดีประกาศกําหนด
ข้อ ๒๙ ให้นายจ้างจัดให้มีการตรวจวัดและวิเคราะห์ระดับความเข้มข้นของสารเคมีอันตรายในบรรยากาศของสถานที่ทํางานและสถานที่เก็บรักษาสารเคมีอันตรายและส่งรายงานผลการตรวจวัดให้แก่อธิบดีหรือผู้ซึ่งอธิบดีมอบหมายภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ทราบผลการตรวจวัด
หลักเกณฑ์ วิธีการตรวจวัด และการวิเคราะห์ผลการตรวจวัดระดับความเข้มข้นของสารเคมีอันตราย ตามวรรคหนึ่ง ให้เป็นไปตามที่อธิบดีประกาศกําหนด
ในกรณีที่นายจ้างไม่สามารถดําเนินการตามวรรคสองได้เอง จะต้องให้ผู้ขึ้นทะเบียนหรือได้รับ ใบอนุญาตจากกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน แล้วแต่กรณี เป็นผู้ดําเนินการให้ ข้อ ๓๐ ในกรณีที่ระดับความเข้มข้นของสารเคมีอันตรายในบรรยากาศของสถานที่ทํางานหรือ สถานที่เก็บรักษาสารเคมีอันตรายมีระดับเกินขีดจํากัดความเข้มข้นของสารเคมีอันตรายตามที่อธิบดี ประกาศกําหนดตามข้อ ๒๘ ให้นายจ้างใช้มาตรการกําจัดหรือควบคุมสารเคมีอันตรายทางวิศวกรรม และการบริหารจัดการสภาพแวดล้อม เพื่อลดระดับความเข้มข้นของสารเคมีอันตรายมิให้เกินขีดจํากัด ดังกล่าว และต้องมีมาตรการป้องกันอันตรายส่วนบุคคลด้วยวิธีการที่เหมาะสม
หมวด ๘
การดูแลสุขภาพอนามัย
------------------------------------
ข้อ ๓๑ ให้นายจ้างจัดให้มีการประเมินความเสี่ยงต่อสุขภาพของลูกจ้างในกรณีที่มีการใช้ สารเคมีอันตรายตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่อธิบดีประกาศกําหนด และจัดทํารายงานการประเมินนั้น ส่งให้แก่อธิบดีหรือผู้ซึ่งอธิบดีมอบหมายภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ทราบผลการประเมิน
ในกรณีที่ผลการประเมินความเสี่ยงต่อสุขภาพของลูกจ้างอยู่ในระดับที่อาจก่อให้เกิดอันตราย ให้นายจ้างดําเนินการแก้ไขปรับปรุงให้อยู่ในระดับที่ปลอดภัย และให้นายจ้างนําผลการประเมินไปใช้ ประกอบการวางแผนการตรวจสุขภาพของลูกจ้างที่ทํางานเกี่ยวกับปัจจัยเสี่ยงและการเฝ้าระวังสุขภาพอนามัย ของลูกจ้าง
หมวด ๙
การควบคุมและปฏิบัติการกรณีมีเหตุฉุกเฉิน
------------------------------------
ข้อ ๓๒ ให้นายจ้างที่มีสารเคมีอันตรายไว้ในครอบครองตามรายชื่อและปริมาณที่อธิบดี ประกาศกําหนด จัดให้มีการประเมินความเสี่ยงในการก่อให้เกิดอันตรายและจัดทํารายงานการประเมิน ความเสี่ยงนั้นอย่างน้อยห้าปีต่อหนึ่งครั้ง
ในกรณีที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างสําคัญเกี่ยวกับสถานที่ครอบครอง รายชื่อ ปริมาณ หรือ กระบวนการผลิตสารเคมีอันตราย ให้นายจ้างจัดให้มีการประเมินความเสี่ยงในการก่อให้เกิดอันตราย และจัดทํารายงานการประเมินความเสี่ยงเพิ่มเติมด้วย
การประเมินความเสี่ยงและการจัดทํารายงานการประเมินความเสี่ยงตามวรรคหนึ่งและวรรคสอง ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่อธิบดีประกาศกําหนด ทั้งนี้ ให้ส่งรายงานดังกล่าวต่อ อธิบดีหรือผู้ซึ่งอธิบดีมอบหมายภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ทราบผลการประเมิน
นายจ้างที่ต้องประเมินความเสี่ยงและจัดทํารายงานการประเมินความเสี่ยงในการก่อให้เกิดอันตราย ตามกฎหมายว่าด้วยโรงงาน ให้ถือว่าได้ประเมินความเสี่ยงตามข้อนี้แล้ว ทั้งนี้ ให้แจ้งต่ออธิบดีหรือ ผู้ซึ่งอธิบดีมอบหมายเพื่อทราบ
ข้อ ๓๓ ให้นายจ้างตามข้อ ๓๒ จัดทําแผนปฏิบัติการกรณีมีเหตุฉุกเฉินของสถานประกอบกิจการ ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่อธิบดีประกาศกําหนด และเก็บแผนดังกล่าวไว้ ณ สถานประกอบกิจการ พร้อมที่จะให้พนักงานตรวจความปลอดภัยตรวจสอบได้ ตลอดจนปรับปรุงแผนให้ทันสมัยและฝึกซ้อม ตามแผนอย่างน้อยปีละหนึ่งครั้ง
ข้อ ๓๔ ให้นายจ้างจัดให้มีการฝึกอบรมลูกจ้างที่มีหน้าที่ควบคุมและระงับเหตุอันตรายตาม หลักสูตรที่อธิบดีประกาศกําหนด และทําการฝึกอบรมทบทวนอย่างน้อยปีละหนึ่งครั้ง และเก็บหลักฐาน การฝึกอบรมพร้อมที่จะให้พนักงานตรวจความปลอดภัยตรวจสอบได้
ข้อ ๓๕ ในกรณีที่สารเคมีอันตรายรั่วไหล ฟุ้งกระจาย เกิดอัคคีภัย หรือเกิดการระเบิด นายจ้าง ต้องสั่งให้ลูกจ้างทุกคนที่ทํางานในบริเวณนั้น หรือบริเวณใกล้เคียงหยุดทํางานทันที และออกไปให้พ้นรัศมี ที่อาจได้รับอันตราย พร้อมทั้งให้นายจ้างดําเนินการให้ผู้ที่เกี่ยวข้องตรวจสอบและระงับเหตุทันที
ในกรณีที่การเกิดเหตุตามวรรคหนึ่งอาจส่งผลกระทบถึงประชาชนที่อยู่ในบริเวณใกล้เคียง ให้นายจ้างดําเนินการให้มีการเตือนอันตรายให้ประชาชนที่อาจได้รับผลกระทบทราบทันที
หมวด ๑๐
บทเฉพาะกาล
------------------------------------
ข้อ ๓๖ ให้นายจ้างที่มีสารเคมีอันตรายอยู่ในครอบครองอยู่ในวันก่อนวันที่กฎกระทรวงนี้มี ผลใช้บังคับ จัดทําบัญชีรายชื่อสารเคมีอันตรายและรายละเอียดข้อมูลความปลอดภัยของสารเคมีอันตราย ตามที่กําหนดในกฎกระทรวงนี้ โดยแจ้งต่ออธิบดีหรือผู้ซึ่งอธิบดีมอบหมายภายในเจ็ดวันนับแต่วันที่ กฎกระทรวงนี้มีผลใช้บังคับ
ให้ไว้ ณ วันที่ ๒๒ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๖
ร้อยตํารวจเอก เฉลิม อยู่บํารุง
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน
หมายเหตุ : - เหตุผลในการประกาศใช้กฎกระทรวงฉบับนี้ คือ โดยที่ปัจจุบันสถานประกอบกิจการได้นํา สารเคมีอันตรายมาใช้ในวิธีการที่หลากหลาย แตกต่างกันไปตามชนิดและปริมาณของสารเคมีอันตราย ซึ่งสารเคมีอันตรายแต่ละชนิดจะมีคุณสมบัติและอันตรายแตกต่างกัน ประกอบกับมาตรา ๘ วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทํางาน พ.ศ. ๒๕๕๔ บัญญัติให้ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานมีอํานาจออกกฎกระทรวงกําหนดมาตรฐานให้นายจ้างบริหาร จัดการ และ ดําเนินการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทํางาน ดังนั้น เพื่อให้ลูกจ้างที่ทํางาน เกี่ยวกับสารเคมีอันตรายได้รับความปลอดภัยในการทํางาน จึงจําเป็นต้องออกกฎกระทรวงนี้